เทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ยุคใหม่ให้ประสบความสำเร็จ

บทสรุป
                    ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน Hybrid Learning ที่มีประสิทธิภาพได้ประโยชน์ทั้งผู้สอนและผู้เรียน
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน, การจัดการเรียนการแบบผสมผสาน,  Hybrid Learning, Blended Learning, รูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน

บทนำ
   หลังสถานการณ์โรคระบาด Covid -19 เพื่อให้การเรียนการสอนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นทางด้านสังคมทั้งกับเพื่อนและอาจารย์ การเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นจึงเกิดขึ้น เนื่องจากโรคระบาดยังคงไม่หายไป แต่ทุกคนต้องปรับตัวเข้ามากับปัจจุบันมากขึ้น จึงเกิดการจัดการเรียนการสอนรูปแบบผสมผสาน (Hybrid Learning Model) การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานนี้นำเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการสอนรายวิชาปฏิบัติ ที่การสอนออนไลน์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเติมเต็มให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ที่เน้นเรื่องของนวัตกรรมและการปฏิบัติ จึงเห็นถึงความสำเร็จของอาจารย์มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเทคนิค ความรู้ ในการจัดทำ KM ในครั้งนี้ เพื่อนำไปเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

Read more

การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานข้ามศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานข้ามศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21

บทสรุป
            การดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ กิจกรรมประมวลผลและกลั่นกรองความรู้กิจกรรมการเข้าถึงความรู้ กิจกรรมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปฏิบัติ และประเมินผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม ได้นำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ ชื่อเรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานข้ามศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการจัดการความรู้ (Knowledge Management) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ ประจำปีการศึกษา 2565 ประเด็นที่ 1 การผลิตและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติ โดยการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Hybrid Learning) วัตถุประสงค์ความรู้ : เพื่อผลิตและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณภาพภายใต้สถานการณ์ที่มีความยืดหยุ่นและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
คำสำคัญ : การเรียนการสอนแบบผสมผสาน, ศตวรรษที่ 21

Read more

การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ และการเขียนบทความในวารสาร “สถาปัตย์นิทรรศน์” นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ (CDAST)

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี  การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ และการเขียนบทความในวารสาร “สถาปัตย์นิทรรศน์” นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ (CDAST)

บทสรุป

          สาขาสถาปัตยกรรมมีคณาจารย์ที่ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาชีพหรือผลงานสร้างสรรค์ในนิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ ซึ่งจัดขึ้นโดยสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) มาอย่างต่อเนื่อง และได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาชีพ รวมถึงการส่งผลงานเข้าร่วมนิทรรศการ มาเผยแพร่แก่คณาจารย์ในสาขาสถาปัตยกรรม ซึ่งหลังจากคณาจารย์ได้รับฟังแนวทางการนำเสนอผลงานดังกล่าว ผลปรากฏว่าโดยในปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมามีผลงานสร้างสรรค์ของท่านอาจารย์พงษ์ศักดิ์ ลอยฟ้า ชื่อผลงาน The 29 Place ที่ตั้ง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้รับรางวัล ผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น ในงานนิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ “สถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 6” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 ธันวาคม 2565 ซึ่งอาจารย์สามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดในด้านอื่นๆ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การขอตำแหน่งทางวิชาการ ภาระงานของบุคลากร(การประเมินขั้นเงินเดือน) เอกสารประกอบการประกันคุณภาพ (มคอ.7) รวมถึงการการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ และสาขาสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังสามารถนำประสบการณ์มาใช้ในการเรียนการสอนแก่ นศ.ได้เป็นอย่างดี
คำสำคัญ : ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์, สถาปัตย์นิทรรศน์, การประกันคุณภาพการศึกษา

Read more

การเสริมสร้างประสบการณ์จริง การเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการให้กับนักศึกษาและบุคลากรสาขาสถาปัตยกรรม

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : การเสริมสร้างประสบการณ์จริง การเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการให้กับนักศึกษาและบุคลากรสาขาสถาปัตยกรรม

บทสรุป
          สาขาสถาปัตยกรรมได้ดำเนินโครงการการเสริมสร้างประสบการณ์จริง การเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ให้กับนักศึกษาและบุคลากร สาขาสถาปัตยกรรม  โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาและบุคลากรได้รับความรู้ ความเข้าใจ  รวมถึงรูปแบบและขั้นตอนการส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่กับงานประชุมวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ  ผลจากการดำเนินการสามารถส่งผลงานได้จริง  โดยมีรายละเอียดดังนี้ นักศึกษาส่งเผยแพร่กับงานประชุมวิชาการในระดับชาติ จำนวน 2 คน ต่อ 1 บทความและบุคลากรในสาขาสถาปัตยกรรมส่งเผยแพร่กับงานประชุมวิชาการในระดับชาติ จำนวน 4 คน จำนวน 4 บทความวิจัย และทั้งนี้บทความวิจัยของบุคลากรที่ส่งงานประชุมวิชาการในระดับชาติ  สามารถปรับเป็นวารสารได้จำนวน 1 บทความ 1 เล่ม ผลงานของนักศึกษาและอาจารย์สามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดในด้านอื่นๆได้แก่ การพัฒนาบุคลากร  การขอตำแหน่งทางวิชาการ  ภาระงานของบุคลากร(การประเมินขั้นเงินเดือน)  เอกสารประกอบการประกันคุณภาพ(SAR)หมวดอาจารย์  การประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร เป็นต้น 
           ดังนั้นแนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลและความต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและบุคลากรของทางสาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสร้างสรรค์ ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ดำเนินการเขียนโครงการการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ ในปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนานักศึกษาและบุคลากรอย่างต่อเนื่องและให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของสาขาสถาปัตยกรรม
คำสำคัญ การเสริมสร้างประสบการณ์จริง, การเขียนบทความทางวิชาการ

Read more

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ยุคใหม่ให้ประสบความสำเร็จ

แนวปฏิบัติที่ดี : เทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ยุคใหม่ให้ประสบความสำเร็จ

บทนำ
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของสาขาวิชาศิลปกรรมและสื่อสร้างสรรค์ในปีการศึกษา 2564 เนื่องด้วยสถาณการณ์โรคระบาด Covid -19 เพื่อความปลอดภัยของอาจารย์และนักศึกษา ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เป็นรูปแบบ Online เต็มรูปแบบ ทำให้ทั้งอาจารย์ นักศึกษา ต้องปรับตัว ทำให้เกิดปัญหาในบางวิชา โดยเฉพาะวิชาปฏิบัติ ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อสิ้นปีการศึกษามีการทบทวนผลประเมินการจัดการเรียนการสอน ปรากฏว่า มีอาจารย์ได้คะแนนจำนวนหนึ่งที่ได้ผลคะแนนไม่เป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน จึงเห็นถึงความสำเร็จของอาจารย์ที่ได้คะแนนประเมินมากกว่า 4.50 ขึ้นไป มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเทคนิค ความรู้ ในการจัดทำ KM ในครั้งนี้ เพื่อนำไปเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

Read more

การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

บทสรุป
           การดำเนินการจดทรัพย์สินทางปัญญาที่ต่อยอดจากผลงานวิจัย การสร้างสรรค์ผลงาน สิ่งประดิษฐ์ของบุคลากร อาจารย์ในสาขาวิชาพบว่า ผลที่เกิดขึ้นจากการยื่นขอจดและประสบความสำเร็จในการได้รับเอกสารความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สามารถนำไปยื่นขอรับค่าตอบแทนจากมหาวิทยาลัยได้ และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้ โดยอยู่ในส่วนผลงานทางวิชาการกลุ่ม 2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ได้แก่ สิทธิบัตร โดยสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ได้นำนโยบายการจัดการความรู้ ประเด็นการวิจัย หรือพัฒนานวัตกรรมสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ มาจัดการดำเนินงานวิจัยและต่อยอดผลงานวิจัยสู่การยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา จนได้แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อจัดกิจกรรมและดำเนินงาน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน องค์ความรู้กับบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จึงขอนำเสนอประเด็นการจัดการความรู้ในเรื่อง การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ
คำสำคัญ : ทรัพย์สินทางปัญญา, สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์, ตำแหน่งทางวิชาการ

Read more

แนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายงบประมาณวิจัย รายได้/รายจ่าย

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : แนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายงบประมาณวิจัย รายได้/รายจ่าย

บทสรุป
         การจัดทำแนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายงบประมาณวิจัย รายได้/รายจ่าย จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการดำเนินการเบิก – จ่าย งบประมาณในการดำเนินการโครงการวิจัย ทั้งงบประมาณ รายได้ / รายจ่ายเป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อย และสามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนเป็นการแนะแนวทางในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเบิก – จ่าย ให้ถูกต้องและครบถ้วนเป็นตามรายการค่าใช้จ่ายที่ระบุไว้ในโครงการวิจัย ดังนั้น การดำเนินการเบิก – จ่าย งบประมาณในการดำเนินโครงการวิจัย ทั้งงบประมาณ รายได้ / รายจ่าย จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ สัญญา คู่มือ และแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดอย่างเคร่งครัด
คำสำคัญ : การเบิกจ่าย , วิจัยงบรายได้ , วิจัยงบรายจ่าย

Read more

การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรม

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรม

บทสรุป
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) มีผลการดำเนินงานปี 2562 องค์ประกอบด้านคุณภาพอาจารย์ ในระดับคะแนนเพิ่มขึ้น เท่ากับ 5 คะแนน จากการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาอาจารย์เฉพาะหลักสูตร ซึ่งกลไกสำคัญเกิดจาก 1) การประชุมเชิงปฎิบัติด้านการการทบทวนแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานหลักสูตร ภายในคณะ 2) การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกัน ภายในสาขา 3) การจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ ภายในหลักสูตร 4) ความร่วมมือระหว่างอาจารย์ในหลักสูตร ในการพัฒนาทักษะด้านวิชาการ วิชาชีพ 5) การประเมินกระบวนการ โดยอาศัยการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตร (SAR) โดยผลลัพธ์จากการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาอาจารย์ คือ อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน ได้รับการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และอาจารย์ 2 ท่าน มีผลงานวิชาต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาดำเนินงานหลักสูตร 2561 นอกจากนั้น ผลที่ได้จากการจัดการองค์ความรู้นี้ ใช้เพื่อปรับปรุงแผนพัฒนารายบุคคล (Individual plan) เพื่อส่งเสริมด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะของอาจารย์ และการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรในปีถัดไป
คำสำคัญ : –

Read more

หลักการเขียนขออนุมัติโครงการแบบในแผนและนอกแผน

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : หลักการเขียนขออนุมัติโครงการแบบในแผนและนอกแผน

บทสรุป
ในการบริหารจัดการสาขา และการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร แผนการบริหารจัดการเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนา ซึ่งการจัดทำกิจกรรมและโครงการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยการการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิที่ภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้บริหารจะต้องวางนโยบายการพัฒนา เมื่อได้รับนโยบายแล้วให้ผู้รับผิดชอบได้กำหนดแผนการดำเนินงานในโครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับตามลำดับ  ซึ่งกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้การจัดกิจกรรมหรือโครงการ ที่ผู้รับผิดชอบได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ให้ทันสถานการณ์ปัจจุบัน และนำมาต่อยอดการจัดการเรียนการสอน
คำสำคัญ : แบบ ง.8 , การขออนุมัติโครงการ

Read more

การพัฒนานักศึกษา: การส่งเสริมกิจกรรมเข้าร่วมประกวดการออกแบบ (กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาบัณฑิตนักสร้างสรรค์นวัตกรรม)

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : การพัฒนานักศึกษา : การส่งเสริมกิจกรรมเข้าร่วมประกวดการออกแบบ (กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาบัณฑิตนักสร้างสรรค์นวัตกรรม)

บทสรุป 
การส่งเสริมการเรียนรู้และประสบการณ์ต่อผู้เรียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งคณะศิลปกรรมและ ออกแบบอุตสาหกรรมมีโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับผู้ที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียน กับการมี ส่วนร่วมในกิจกรรมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน “บัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบ” หากเพียงแต่การให้ความสําคัญนั้นมีผลกระทบต่อการ เรียนในสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกับระบบการจัดการเรียนการสอน อันส่งผลต่อตัว ผู้เรียนเป็นสําคัญ เช่น การส่งงานไม่ตรงตามเวลาที่ผู้สอนกําหนด การพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลต่อการ เข้าชั้นเรียน คุณภาพของผลงาน ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และจุดประสงค์ที่ผู้สอนตั้งไว้ ผู้เรียนเกิด ความท้อแท้ต่อการเรียน สาขาวิชาจึงใช้วิธีสํารวจโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการสังเกตและ สัมภาษณ์ผู้เรียนผู้สอนถึงสภาพปัจจุบันทุกภาคการศึกษาจากการติดตามโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ถึง ปัญหาที่เกิดขึ้น อันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน 
สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ใช้แนวปฏิบิตการจัดการเรียนการสอนโดยการ ปรับการเรียนให้เป็นกิจกรรม (Learning by Activity) เป็นการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ โครงการหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนให้ความสําคัญ นั่นคือ โครงการส่งเสริมเข้าร่วมประกวดทักษะทาง วิชาชีพด้านการออกแบบ (โครงการนอกแผน) โดยได้ส่งเสริมให้นักศึกษาในสาขาได้เข้าร่วมโครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ T-Style: Big Toy Design 2019 “61+ วัยเก๋เขาเล่นอะไร?” ซึ่งเป็นการเข้า ร่วมอบรมและประกวดการออกแบบของเล่นเพื่อผู้สูงอายุ (กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาบัณฑิต นักสร้างสรรค์นวัตกรรม) ตามแนวคิดแบบ “Constructivism” มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ แบบหลักการสอนในเชิงกิจกรรมการเรียนรู้ (Activity-Based Learning) ในรายวิชาได้แก่ วิชาเทคโนโลยีพื้นฐานเพื่อการออกแบบ, วิชาการตลาดเพื่อการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ และ วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบและผลิต 2
คําสําคัญ : การพัฒนานักศึกษา, การส่งเสริมการเรียนรู้

Read more