การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานข้ามศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานข้ามศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21

บทสรุป
            การดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ กิจกรรมประมวลผลและกลั่นกรองความรู้กิจกรรมการเข้าถึงความรู้ กิจกรรมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปฏิบัติ และประเมินผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม ได้นำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ ชื่อเรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานข้ามศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการจัดการความรู้ (Knowledge Management) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ ประจำปีการศึกษา 2565 ประเด็นที่ 1 การผลิตและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติ โดยการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Hybrid Learning) วัตถุประสงค์ความรู้ : เพื่อผลิตและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณภาพภายใต้สถานการณ์ที่มีความยืดหยุ่นและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
คำสำคัญ : การเรียนการสอนแบบผสมผสาน, ศตวรรษที่ 21

Read more

การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ และการเขียนบทความในวารสาร “สถาปัตย์นิทรรศน์” นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ (CDAST)

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี  การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ และการเขียนบทความในวารสาร “สถาปัตย์นิทรรศน์” นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ (CDAST)

บทสรุป

          สาขาสถาปัตยกรรมมีคณาจารย์ที่ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาชีพหรือผลงานสร้างสรรค์ในนิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ ซึ่งจัดขึ้นโดยสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) มาอย่างต่อเนื่อง และได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาชีพ รวมถึงการส่งผลงานเข้าร่วมนิทรรศการ มาเผยแพร่แก่คณาจารย์ในสาขาสถาปัตยกรรม ซึ่งหลังจากคณาจารย์ได้รับฟังแนวทางการนำเสนอผลงานดังกล่าว ผลปรากฏว่าโดยในปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมามีผลงานสร้างสรรค์ของท่านอาจารย์พงษ์ศักดิ์ ลอยฟ้า ชื่อผลงาน The 29 Place ที่ตั้ง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้รับรางวัล ผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น ในงานนิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ “สถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 6” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 ธันวาคม 2565 ซึ่งอาจารย์สามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดในด้านอื่นๆ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การขอตำแหน่งทางวิชาการ ภาระงานของบุคลากร(การประเมินขั้นเงินเดือน) เอกสารประกอบการประกันคุณภาพ (มคอ.7) รวมถึงการการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ และสาขาสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังสามารถนำประสบการณ์มาใช้ในการเรียนการสอนแก่ นศ.ได้เป็นอย่างดี
คำสำคัญ : ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์, สถาปัตย์นิทรรศน์, การประกันคุณภาพการศึกษา

Read more

การเสริมสร้างประสบการณ์จริง การเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการให้กับนักศึกษาและบุคลากรสาขาสถาปัตยกรรม

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : การเสริมสร้างประสบการณ์จริง การเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการให้กับนักศึกษาและบุคลากรสาขาสถาปัตยกรรม

บทสรุป
          สาขาสถาปัตยกรรมได้ดำเนินโครงการการเสริมสร้างประสบการณ์จริง การเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ให้กับนักศึกษาและบุคลากร สาขาสถาปัตยกรรม  โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาและบุคลากรได้รับความรู้ ความเข้าใจ  รวมถึงรูปแบบและขั้นตอนการส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่กับงานประชุมวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ  ผลจากการดำเนินการสามารถส่งผลงานได้จริง  โดยมีรายละเอียดดังนี้ นักศึกษาส่งเผยแพร่กับงานประชุมวิชาการในระดับชาติ จำนวน 2 คน ต่อ 1 บทความและบุคลากรในสาขาสถาปัตยกรรมส่งเผยแพร่กับงานประชุมวิชาการในระดับชาติ จำนวน 4 คน จำนวน 4 บทความวิจัย และทั้งนี้บทความวิจัยของบุคลากรที่ส่งงานประชุมวิชาการในระดับชาติ  สามารถปรับเป็นวารสารได้จำนวน 1 บทความ 1 เล่ม ผลงานของนักศึกษาและอาจารย์สามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดในด้านอื่นๆได้แก่ การพัฒนาบุคลากร  การขอตำแหน่งทางวิชาการ  ภาระงานของบุคลากร(การประเมินขั้นเงินเดือน)  เอกสารประกอบการประกันคุณภาพ(SAR)หมวดอาจารย์  การประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร เป็นต้น 
           ดังนั้นแนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลและความต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและบุคลากรของทางสาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสร้างสรรค์ ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ดำเนินการเขียนโครงการการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ ในปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนานักศึกษาและบุคลากรอย่างต่อเนื่องและให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของสาขาสถาปัตยกรรม
คำสำคัญ การเสริมสร้างประสบการณ์จริง, การเขียนบทความทางวิชาการ

Read more

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ยุคใหม่ให้ประสบความสำเร็จ

แนวปฏิบัติที่ดี : เทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ยุคใหม่ให้ประสบความสำเร็จ

บทนำ
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของสาขาวิชาศิลปกรรมและสื่อสร้างสรรค์ในปีการศึกษา 2564 เนื่องด้วยสถาณการณ์โรคระบาด Covid -19 เพื่อความปลอดภัยของอาจารย์และนักศึกษา ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เป็นรูปแบบ Online เต็มรูปแบบ ทำให้ทั้งอาจารย์ นักศึกษา ต้องปรับตัว ทำให้เกิดปัญหาในบางวิชา โดยเฉพาะวิชาปฏิบัติ ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อสิ้นปีการศึกษามีการทบทวนผลประเมินการจัดการเรียนการสอน ปรากฏว่า มีอาจารย์ได้คะแนนจำนวนหนึ่งที่ได้ผลคะแนนไม่เป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน จึงเห็นถึงความสำเร็จของอาจารย์ที่ได้คะแนนประเมินมากกว่า 4.50 ขึ้นไป มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเทคนิค ความรู้ ในการจัดทำ KM ในครั้งนี้ เพื่อนำไปเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

Read more

การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

บทสรุป
           การดำเนินการจดทรัพย์สินทางปัญญาที่ต่อยอดจากผลงานวิจัย การสร้างสรรค์ผลงาน สิ่งประดิษฐ์ของบุคลากร อาจารย์ในสาขาวิชาพบว่า ผลที่เกิดขึ้นจากการยื่นขอจดและประสบความสำเร็จในการได้รับเอกสารความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สามารถนำไปยื่นขอรับค่าตอบแทนจากมหาวิทยาลัยได้ และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้ โดยอยู่ในส่วนผลงานทางวิชาการกลุ่ม 2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ได้แก่ สิทธิบัตร โดยสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ได้นำนโยบายการจัดการความรู้ ประเด็นการวิจัย หรือพัฒนานวัตกรรมสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ มาจัดการดำเนินงานวิจัยและต่อยอดผลงานวิจัยสู่การยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา จนได้แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อจัดกิจกรรมและดำเนินงาน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน องค์ความรู้กับบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จึงขอนำเสนอประเด็นการจัดการความรู้ในเรื่อง การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ
คำสำคัญ : ทรัพย์สินทางปัญญา, สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์, ตำแหน่งทางวิชาการ

Read more