การพัฒนานักศึกษา: การส่งเสริมกิจกรรมเข้าร่วมประกวดการออกแบบ (กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาบัณฑิตนักสร้างสรรค์นวัตกรรม)

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : การพัฒนานักศึกษา : การส่งเสริมกิจกรรมเข้าร่วมประกวดการออกแบบ (กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาบัณฑิตนักสร้างสรรค์นวัตกรรม)

บทสรุป 
การส่งเสริมการเรียนรู้และประสบการณ์ต่อผู้เรียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งคณะศิลปกรรมและ ออกแบบอุตสาหกรรมมีโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับผู้ที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียน กับการมี ส่วนร่วมในกิจกรรมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน “บัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบ” หากเพียงแต่การให้ความสําคัญนั้นมีผลกระทบต่อการ เรียนในสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกับระบบการจัดการเรียนการสอน อันส่งผลต่อตัว ผู้เรียนเป็นสําคัญ เช่น การส่งงานไม่ตรงตามเวลาที่ผู้สอนกําหนด การพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลต่อการ เข้าชั้นเรียน คุณภาพของผลงาน ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และจุดประสงค์ที่ผู้สอนตั้งไว้ ผู้เรียนเกิด ความท้อแท้ต่อการเรียน สาขาวิชาจึงใช้วิธีสํารวจโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการสังเกตและ สัมภาษณ์ผู้เรียนผู้สอนถึงสภาพปัจจุบันทุกภาคการศึกษาจากการติดตามโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ถึง ปัญหาที่เกิดขึ้น อันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน 
สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ใช้แนวปฏิบิตการจัดการเรียนการสอนโดยการ ปรับการเรียนให้เป็นกิจกรรม (Learning by Activity) เป็นการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ โครงการหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนให้ความสําคัญ นั่นคือ โครงการส่งเสริมเข้าร่วมประกวดทักษะทาง วิชาชีพด้านการออกแบบ (โครงการนอกแผน) โดยได้ส่งเสริมให้นักศึกษาในสาขาได้เข้าร่วมโครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ T-Style: Big Toy Design 2019 “61+ วัยเก๋เขาเล่นอะไร?” ซึ่งเป็นการเข้า ร่วมอบรมและประกวดการออกแบบของเล่นเพื่อผู้สูงอายุ (กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาบัณฑิต นักสร้างสรรค์นวัตกรรม) ตามแนวคิดแบบ “Constructivism” มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ แบบหลักการสอนในเชิงกิจกรรมการเรียนรู้ (Activity-Based Learning) ในรายวิชาได้แก่ วิชาเทคโนโลยีพื้นฐานเพื่อการออกแบบ, วิชาการตลาดเพื่อการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ และ วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบและผลิต 2
คําสําคัญ : การพัฒนานักศึกษา, การส่งเสริมการเรียนรู้

ชื่อ-นามสกุล ผู้นําเสนอ
1. อาจารย์ พิทักษ์ พรหมสถิตย์ (หัวหน้าสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ฯ) 
2. อาจารย์ สุรพล ธนะสูตร
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวัฒน์ชัย ไชยพันธ์
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิสิฐ คลังกูล
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธ์วดี พยัฆประโคน
6. อาจารย์ ดร.กฤษณ์ วิไลโอฬาร
7. อาจารย์ ดร.กัลยกร จันทรสาขา
8. อาจารย์ ดร.นันทิยา ณ หนองคาย
9. อาจารย์ สิทธิศักดิ์ รัตนประภาวรรณ
10. อาจารย์ พิฆเนศ อิสรมงคลรักษ์
11. อาจารย์ เทพฤทธิ์ ไชยจันทร์
12. อาจารย์ พรทิพย์ ประยุทธเต
หน่วยงาน : สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม

บทนํา 
ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนเป็นความท้าทายที่สําคัญยิ่งต่อผู้สอนที่จะจัดหาวิธีการ สอนให้เหมาะสมสําหรับผู้เรียนในยุคสมัยสื่อสังคมออนไลน์กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน นครราชสีมา ที่ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยีและ นวัตกรรม, มหาวิทยาลัย สีเขียว และมหาวิทยาลัยแห่งคุณธรรม อันนําไปสู่ความเป็น “มหาวิทยาลัย แห่งภูมิปัญญา” (Smart University) ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราง มงคลอีสาน ระยะ 5 ปี (2560-2564) (กองนโยบายและแผน, 2562) 
ซึ่งอัตลักษณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน “บัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความ รับผิดชอบ” และเอกลักษณ์มหาวิทยาลัย คือ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งการสร้างอาชีพเฉพาะ ทาง” ซึ่งสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้มีการจัดกิจกรรมและโครงการที่สามารถรตอบ ยุทธศาสตร์และสอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร รวมถึงให้สอดคล้องกับผู้ที่ เข้ามาศึกษาเล่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านรูปแบบของการจัดกิจกรรมหรือโครงการ ซึ่งจะ สอดคล้องกับการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานที่ดี 
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) หลักสูตรปรบปรุง พ.ศ. 2553 คณะศิลปะกรรรมและ ออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้กําหนดให้นักศึกษากลุ่มออกแบบ อุตสาหกรรม สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้มีการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบในด้านต่างๆ จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดสรรประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็น ประโยชน์ให้แก่ผู้เรียนอยู่เสมอ สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ใน องค์ประกอบที่ 3 ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ในช่วงระหว่างการศึกษา ต้องมีกลไกในการพัฒนาความรู้พื้นฐานหรือ 
การเตรียมความพร้อมทางการเรียนแก่นักศึกษา เพื่อให้มีความสามารถในการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา ได้อย่างมีความสุข อัตราการลาออกกลางคันน้อย ในระหว่างการศึกษามีการจัดกิจกรรมและพัฒนา ความรู้ความสามารถในรูปแบบต่างๆ ทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีกิจกรรมเสริมสร้าง ความเป็นพลเมืองที่ดีมีจิตสํานึกสาธารณะ มีการวางระบบการดูแลให้คําปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา วิชาการ ระบบป้องกันหรือ การบริหารจัดการความเสี่ยงของนักศึกษา เพื่อให้สามารถสําเร็จการศึกษา ได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกําหนด รวมทั้งการส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักศึกษา การ สร้างโอกาสการเรียนรู้ที่ส่งเสริม การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ได้มาตรฐานสากล 
ดังนั้นสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม จึง ได้จัดทําโครงการส่งเสริมเข้าร่วมประกวดทักษะทางวิชาชีพด้านการออกแบบขึ้น (โครงการนอก แผน) โดยได้ส่งเสริมให้นักศึกษาในสาขาได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ T-Style: Big Toy Design 2019 “61+ วัยเก๋เขาเล่นอะไร?” ซึ่งเป็นการเข้าร่วมอบรมและประกวดการออกแบบของ เล่นเพื่อผู้สูงอายุ (กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาบัณฑิตนักสร้างสรรค์นวัตกรรม) นอกจากความรู้ และประสบการณ์ทางด้านวิชาการที่ได้แล้ว กิจกรรมดังกล่าวสามารถช่วยเติมเต็มประสบการณ์ให้ บุคลากรและนักศึกษา และนําองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มาปรับใช้กับการเรียนและการสอน ทําให้นักศึกษาตระหนักถึงความสําคัญของการเข้าร่วมโครงการ และเห็นคุณค่าของการเรียนด้านการ ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง และคณาจารย์เองก็จะได้มี การพัฒนานําองค์ความรู้มาใช้ในการพัฒนาสื่อการสอน รูปแบบการสอน จากการแลกเปลี่ยนความรู้ และพูดคุยกับผู้รู้เฉพาะด้านและพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องจนอาจได้รับการยอมรับเมื่อได้สร้างผลงาน ระดับชาติ หรือระดับสากลต่อไป 
จากที่กล่าวข้างต้น สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ตระหนักถึงโครงการดังกล่าว ที่ส่งผลถึงการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันของสาขาวิชาฯ ซึ่งจากการสํารวจโครงการและกิจกรรม ต่าง ๆ รวมถึงการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้เรียนผู้สอนถึงสภาพปัจจุบันและปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจาก งบประมาณอันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการโครงการ พบว่ามีโครงการนี้ขาดงบประมาณสนับสนุน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนให้ความสําคัญทุกปี ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนา ต่อผู้เรียนในสาขาวิชาฯ ด้วยเหตุปัจจัยที่ได้รับรางวัลต่อเนื่องทุกปี ทําให้ได้ความภาคภูมิใจจาก กิจกรรมที่เข้าร่วม ทําให้มีความภาคภูมิในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงาม หากแต่ส่งผลถึงปัญหา ที่ตามมาดังที่กล่าวข้างต้นหากแต่ส่งผลถึงปัญหาการเข้าร่วมของนักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมทุกคนตามที่ มุ่งหมายไว้ ด้วยขาดงบประมาณตามที่กล่าวข้างต้น และปัญหาที่กล่าวถึงด้านเวลา ในการเรียนการ สอน ซึ่งผู้สอนในแต่ละวิชาที่พบปัญหาดังกล่าวจึงต้องมีการขยายเวลารับงานนักศึกษาที่เข้าร่วม โครงการ หรือมีการจัดสอนชดเชย หรือให้ผู้เรียนที่มีปัญหาพบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อหาทางแก้ปัญหา อย่างเร่งด่วน 
การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิมไม่อาจแก้ปัญหาได้ ทางสาขาวิชาฯ จึงเกิดการประชุม เพื่อปรึกษาหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยการปรับการเรียนให้เป็นกิจกรรม (Learning by Activity) เป็นการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับโครงการและกิจกรรมที่ผู้เรียนให้ ความสําคัญ สอดคล้องตามแนวคิดแบบ “Constructivism” ที่มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ต่างๆ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ คล้ายหลักการสอนในเชิงกิจกรรมการเรียนรู้ (Activity Based Learning) (การเรียนรู้จากกิจกรรม, 2562) ซึ่งจะเป็นแนวการสอนที่จะไม่เน้นให้ผู้เรียนท่องจํา แต่จะเน้นให้รู้จักคิดวิเคราะห์และเรียนรู้จากโครงการที่ได้ทําจริง โดยเป็นการให้โจทย์และงานที่เกิด จากการบูรณาการจากวิชาต่างๆ ในสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ฯ โดยกลุ่มที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3/4 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ในรายวิชา ได้แก่ วิชาเทคโนโลยีพื้นฐานเพื่อ การออกแบบ, วิชาการตลาดเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบและ ผลิต 2 ซึ่งจัดให้สอดคล้องกับช่วงเวลาการเข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการ กับรายวิชาในสาขาวิชาและ สอดคล้องกับวิชาชีพที่เรียนเป็นสําคัญ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนตระหนักและเห็นถึง ความสําคัญทั้งการเรียนการทํากิจกรรมที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับ ที่ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันนําไปสู่ ความเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งภูมิปัญญา” (Smart University) ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

1. กระบวนการจัดการความรู้ 

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมและ ออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ได้มีการจัดทํา กระบวนการจัดการความรู้ โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับแผนและนโยบายของมหาวิทยาลัยและของ คณะ แผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และขอบข่ายความ รับผิดชอบ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการจัดความรู้นี้ได้ดําเนินการดังนี้ 
1.1 การบ่งชี้ความรู้ 
ประชุมอาจารย์ประจําสาขาวิชาฯ สํารวจรายวิชาที่สอดคล้องกับโครงการ/กิจกรรม เพื่อกําหนดประเด็นการเรียนการสอนให้ไปในทิศทางเดียวกัน 
1.2 การสร้างและแสวงหาความรู้ “
ได้รายวิชาจากการสรุปผลการประชุม โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้การเลือกแบบ เฉพาะเจาะจงเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3/4 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชา ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ในรายวิชาได้แก่ วิชาเทคโนโลยี พื้นฐานเพื่อการออกแบบ, วิชาการตลาดเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยการ ออกแบบและผลิต 2 ซึ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มที่ผู้สอนหลายท่านพิจารณาและพบปัญหาร่วมกัน 
1.3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 
จัดการเรียนการสอนลงในมคอ.3 แต่ละรายวิชา ชั้นปีที่ 3/4 หลักสูตรเทคโนโลยี บัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยให้ผู้สอนแต่ ละรายวิชาจัดเวลาและการเรียนในสัปดาห์ ในหน่วยที่สอดคล้องกับโครงการ 
1.4 การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ 
ผู้สอนแต่ละรายวิชาวางแนวทางการสอนและออกแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้อง กับโครงการ ที่กําหนดในสัปดาห์นั้น เป็นการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกิจกรรมหรือโครงการ ที่ สอดคล้องตามแนวคิดแบบ “Constructivism” ที่มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ในเชิงกิจกรรมการเรียนรู้ (Activity-Based Learning) เพื่อให้ออกมาใน รูปแบบผลงานที่สอดคล้องในแต่ละรายวิชา 
1.5 การเข้าถึงความรู้ 
สาขาฯ จัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการสรุปเป็นโจทย์แต่ละรายวิชาที่สอดคล้องกับ โครงการ/กิจกรรม อาจได้โจทย์ที่เป็นแบบงานรายบุคคล รายกลุ่มและอื่นๆ หรือโครงการร่วมกันทุก รายวิชาแบบบูรณาการกัน 
1.6 การแลกเปลี่ยนความรู้ 
ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการนําความรู้มาสรุปผลในกลุ่มที่ได้จากแนวปฏิบัติร่วมกันในแต่ ละรายวิชาแล้วนําเสนอ แลกเปลี่ยนความรู้จากสิ่งที่ได้เข้าร่วมอบรมโครงการส่งเสริมเข้าร่วมประกวด ทักษะทางวิชาชีพด้านการออกแบบ พัฒนาเป็นผลงานในรายวิชา เผยแพร่สู่สาธารณะ ในสื่อสังคม ออนไลน์หรือสื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ 
1.7 การเรียนรู้ 
ผู้สอนสรุปผลจากการเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ทําข้อดีและข้อเสีย ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียน และผู้สอนตระหนักและเห็นถึงความสําคัญทั้งการเรียนการทํากิจกรรมที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน 

2. วิธีการดําเนินงาน 

2.1 ประชุมอาจารย์ประจําสาขาวิชา สํารวจรายวิชาที่สอดคล้องกับโครงการ/กิจกรรม
2.2 วางแผนจัดการเรียนการสอนลงในมคอ.3 แต่ละวิชา
2.3 สรุปเป็นงานที่มอบหมายแต่ละรายวิชาที่สอดคล้องกับโครงการที่เข้าร่วม
2.4 ดําเนินการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับโครงการที่เข้าร่วม
2.5 นําเสนอผลงานและสรุปผลจากการเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ทํา 
2.6 ประชุมอาจารย์ประจําสาขาวิชาเพื่อสรุปและปรับปรุง จัดหางบประมาณเพื่อดําเนินการ ในปีการศึกษาถัดไป

3. ภาพแสดงการดําเนินงาน

ภาพผลงานการเรียนการสอนในรายวิชากับโครงการที่เข้าร่วม

ภาพที่ 1 ภาพการเรียนการสอนในรายวิชา
ภาพที่ 2 การประชุมอาจารย์ประจําสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 
สํารวจรายวิชาที่สอดคล้องกับโครงการ/กิจกรรม
ภาพที่ 5 ภาพกิจกรรมเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ T-Style: Big Toy Design 2019 “61+ วัยเก๋เขาเล่นอะไร?”

ผลและการอภิปรายผลการดําเนินงาน 

ในปีการศึกษาที่ผ่านมาเป็นการนําผลการจัดการความรู้จากกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย สู่กิจกรรมภายนอกมหาวิทยาลัยในรูปแบบการเข้าร่วมโครงการ ในการจัดทํารูปแบบการนําเสนอแนว ปฏิบัติที่ดีด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบการปรับการเรียนให้เป็นกิจกรรม (Learning by Activity) ซึ่งในการนําเสนอการจัดการองค์ความรู้ยังคงเป็นการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับโครงการ หรือกิจกรรมที่ให้ความสําคัญต่อผู้เรียน และเป็นภาพผลกระทบต่อการเรียนในสาขาวิชาต่อระบบการ จัดการเรียนการสอนอย่างเดิม ที่ผ่านมาส่งผลต่อตัวผู้เรียนเองเป็นสําคัญและผู้สอน โดยผลเสียที่ ตามมาคือการส่งงานที่ได้รับมอบหมายไม่ตรงตามเวลาที่ผู้สอนกําหนด เพราะใช้เวลาในการทํางานเป็น การเข้าร่วมโครงการ ทําให้การพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเข้าชั้นเรียน ผลต่อคุณภาพของผลงาน ที่ได้รับมอบหมายลดลง และผลเสียต่อผู้สอนที่ไม่ไปตามวัตถุประสงค์และจุดประสงค์ที่ผู้สอนตั้งไว้ ผลกระทบต่อผู้เรียนเกิดความท้อแท้ จากการทํากิจกรรมที่มากเกินเวลาและการทํางาน 
ผลดีของแนวปฏิบัติที่จัดทําได้มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงการที่เข้าร่วม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งได้เน้นให้รู้จักคิดวิเคราะห์และเรียนรู้จากกิจกรรมที่ได้ทําจริงที่ได้ จากการพูดคุยกับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และได้ทั้งผลงานที่เกิดจากการบูรณาการจากวิชาต่างๆ ในสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกับกิจกรรมโครงการที่เข้าร่วมฯ เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่ง สอดคล้องกับที่ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยีและ นวัตกรรม, มหาวิทยาลัยสีเขียว และมหาวิทยาลัยแห่งคุณธรรม อันนําไปสู่ความเป็น “มหาวิทยาลัย แห่งภูมิปัญญา” (Smart University) ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลอีสาน

สรุป/ประโยชน์ที่ได้รับ 

สรุป แนวปฏิบัตการจัดการเรียนการสอนโดยการปรับการเรียนให้เป็นกิจกรรม (Learning by Activity) เป็นการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นการส่งเสริมช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนตระหนักและเห็นถึง ความสําคัญทั้งการเรียนการทํากิจกรรมที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน และลดปัญหาการทํางานกิจกรรมกับ การเรียนการสอนทั้งของผู้สอนและผู้เรียน 

ประโยชน์ที่ได้รับ

ผู้เรียนและผู้สอนเกิดทัศนคติที่ดีต่อโครงการหรือกิจกรรมที่เข้าร่วม เป็นแนวปฏิบัติที่ดีสําหรับสาขาวิชาอื่นๆ ทั้งในระดับคณะหรือระดับมหาวิทยาลัย นักศึกษาตระหนักถึงความสําคัญของการเข้าร่วมโครงการ

บรรณานุกรม 

กองนโยบายและแผน (2562). ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ระยะ 5 ปี (2560-2564). นครราชสีมา: กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรางมงคลอีสาน.
การเรียนรู้จากกิจกรรม. (2562). การเรียนรู้แบบ (Activity-Based Learning). ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=16207&Key=news15
สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2562) รายงานผลการดําเนินโครงการ โครงการฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการ T-Style: Big Toy Design 2019 “61+ วัยเก๋เขาเล่นอะไร?. นครราชสีมา: สาขาวิชา ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีรางมงคลอีสาน