หลักการเขียนขออนุมัติโครงการแบบในแผนและนอกแผน

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : หลักการเขียนขออนุมัติโครงการแบบในแผนและนอกแผน

บทสรุป
ในการบริหารจัดการสาขา และการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร แผนการบริหารจัดการเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนา ซึ่งการจัดทำกิจกรรมและโครงการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยการการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิที่ภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้บริหารจะต้องวางนโยบายการพัฒนา เมื่อได้รับนโยบายแล้วให้ผู้รับผิดชอบได้กำหนดแผนการดำเนินงานในโครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับตามลำดับ  ซึ่งกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้การจัดกิจกรรมหรือโครงการ ที่ผู้รับผิดชอบได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ให้ทันสถานการณ์ปัจจุบัน และนำมาต่อยอดการจัดการเรียนการสอน
คำสำคัญ : แบบ ง.8 , การขออนุมัติโครงการ

ชื่อ-นามสกุล  ผู้นำเสนอ 
1. นางสาวพรรณนิภา    เปียจันทึก                  หัวหน้ากลุ่ม
2.  นางสรสุมาลี            กุลจรัสเวช
3.  นางสาวอนุกูล         บุญโรจน์
4.  นางสาววันวิสาข์       ฉ่องสูงเนิน
5.  นางสาวปวีณา         ปิตคุณ
6.  นายภานุพงศ์          ตั้งมั่น

หน่วยงาน : งานบริหารงานทั่วไป

บทนำ
          การจัดทำโครงการและการขออนุมัติโครงการเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารจัดการ  เพื่อดำเนินการของบประมาณของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  มาดำเนินโครงการตามพันธกิจ 5 ด้าน ประกอบด้วย การเรียนการสอน, งานวิจัย, บริการวิชาการ, ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม, สนองโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  โดยงานบริหารงานทั่วไปได้นำนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ มาวางแผนจัดทำโครงการและพัฒนาคณะทุกปีงบประมาณ  เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระบบและถูกต้องตามระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จนได้แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อการเขียนขอเสนอโครงการลงในแบบ ง.8  และการขออนุมัติโครงการ ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเสมอมา  ดังนั้นงานบริหารงานทั่วไปจึงขอนำเสนอประเด็นการจัดการความรู้ในเรื่อง หลักการเขียนขอเสนอโครงการลงในแบบ ง.8  และการขออนุมัติโครงการ

1. กระบวนการจัดการความรู้
1.1 การบ่งชี้ความรู้
งานบริหารงานทั่วไป  มีหน้าที่ในการสนับสนุนการจัดการด้านเอกสารต่างๆ ให้ถูกต้องตามแบบฟอร์ม ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง  ดังนั้น งานบริหารงานทั่วไปจึงรวบรวมองค์ความรู้ด้านหลักการเขียนขอเสนอโครงการลงในแบบ ง.8  และการขออนุมัติโครงการ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน
1.2 การสร้างและแสวงหาความรู้
งานบริหารงานทั่วไป คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม จัดประชุมหารือเสนอแนะร่วมกัน เพื่อทบทวนกระบวนการดำเนินการหลักการเขียนขอเสนอโครงการลงในแบบ ง.8  และการขออนุมัติโครงการให้สอดคล้องกับระเบียบและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย  ร่วมนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีของหน่วยงาน ที่เคยดำเนินงานในปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการปีงบประมาณถัดไป
1.3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
บันทึกความรู้และรวบรวมข้อมูลเอกสารเพื่อจัดทำผังการดำเนินงานหลักการเขียนขอเสนอโครงการลงในแบบ ง.8  และการขออนุมัติโครงการ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากการปฏิบัติงานสู่หน่วยงานภายในคณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม
1.4 การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
นำความรู้ที่ได้และเอกสารมากลั่นกรองจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลัง  แยกหมวดหมู่ เพื่อกำหนดขอบเขตการดำเนินงานให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในหลักการเขียนขอเสนอโครงการลงในแบบ ง.8  และการขออนุมัติโครงการ
1.5 การเข้าถึงความรู้
เก็บรวบรวมบันทึกความรู้และผังการดำเนินงาน รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบใน Google Drive และเว็บไซต์ของคณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม ในส่วนของแผนกงานแผนและประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  โดยให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลแก่บุคลากรทุกท่านในการดาวน์โหลดและเปิดอ่านข้อมูลได้
1.6 การแลกเปลี่ยนความรู้
ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ การนำแนวปฏิบัติที่ดีมาใช้ในการเขียนขอเสนอโครงการลงในแบบ ง.8  และการขออนุมัติโครงการ  เพื่อนำจุดเด่นที่เป็นข้อสังเกตมาเผยแพร่ให้แก่บุคลากรร่วมประชุมเกิดแนวคิดใหม่ๆ เพื่อต่อยอดการปฏิบัติงานด้านเอกสารให้เหมาะสมถูกต้องเป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1.7 การเรียนรู้
ติดตามการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำกลับมาทบทวนและวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์พัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และระเบียบเบิกจ่ายที่เกี่ยวข้องที่มีการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

2. วิธีการดำเนินงาน
กรณีโครงการในแผน

กรณีโครงการในแผน

กรณีโครงการนอกแผน

กรณีโครงการนอกแผน

3. ภาพแสดงการดำเนินงาน

4. ผลและการอภิปรายผลการดำเนินงาน
1. หลักการเขียนขอเสนอโครงการลงในแบบ ง.8  และการขออนุมัติโครงการ  โดยใช้แนวปฏิบัติที่ได้จากการจัดการความรู้ ถือว่าประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ดังนี้
                   1.1 เกิดองค์ความรู้และการเรียนรู้ที่ใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานด้านเอกสารเรื่องการ ขออนุมัติโครงการที่สามารถเบิกจ่ายได้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และผ่านการตรวจสอบจากหน่วยตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัย
                   1.2 องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาการปฏิบัติงานด้านเอกสารเรื่องการขออนุมัติโครงการสามารถนำไปใช้ในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อประกอบการประเมินภาระงาน หรือการขอกำหนดตำแหน่งงานที่สูงขึ้น
2. ปัญหาและอุปสรรคบางประการที่มักพบในการดำเนินกิจกรรม
                   2.1 ผู้รับผิดชอบโครงการเขียนชื่อโครงการ/หลักการและเหตุผล/วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมาย ไม่สอดคล้องกัน
                   2.2 รายละเอียดค่าใช้จ่ายไม่สอดคล้องกับกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมาย
                   2.3 บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการเบิกจ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ระเบียบกระทรวงการคลัง

5. สรุป/ประโยชน์ที่ได้รับ
จากการสรุปและอภิปรายผลร่วมกันทำให้ทราบว่าแนวปฏิบัติที่ดีในหลักการเขียนขอเสนอโครงการลงในแบบ ง.8  และการขออนุมัติโครงการ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเขียนของบประมาณให้ชัดเจน สามารถรายงานผลได้ตามวัตถุประสงค์ และสามารถช่วยให้การเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการ เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายของกระทรวงการคลังและของมหาวิทยาลัย