เทคนิคการเผยแพร่บทความวิจัยเพื่อนําไปขอตำแหน่งทางวิชาการ

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : เทคนิคการเผยแพร่บทความวิจัยเพื่อนําไปขอตําแหน่งทางวิชาการ

บทสรุป
การยื่นขอตําแหน่งวิชาการเป็นอะไรที่อาจารย์ทุกท่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากตําแหน่งวิชาการ เป็นการแสดงถึงศักยภาพของอาจารย์และการยอมรับในวงการวิชาการด้านการสอน การวิจัย และการให้บริการ วิชาการ ส่งผลให้สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงจากการประกันคุณภาพการศึกษาและมีการจัดอันดับ ด้านการเรียนการสอน การทําวิจัยในระดับที่สูงขึ้น และอาจารย์ผู้มีตําแหน่งวิชาการยังได้รับค่าตอบแทนประจํา ตําแหน่งอีกด้วย อาจารย์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีหน้าที่แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การสอน การทําวิจัย การบริการวิชาการ การทํานุบํารุงศิลปะวัฒนธรรม โดยเฉพาะการทําวิจัยซึ่งเป็นงานที่ได้พัฒนาศักยภาพของ อาจารย์ โดยสาขาฯ มีผลงานวิจัยของอาจารย์อย่างต่อเนื่องทุกปี และได้รับการเผยแพร่ผลงานทั้งในระดับชาติและ นานาชาติ
เพื่อไม่ให้ผลงานวิชาการที่ได้จากการทําวิจัยของอาจารย์สูญเปล่า อาจารย์ในสาขาฯ จึงได้ค้นหาเทคนิค ต่าง ๆ ในการเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการและประชุมวิชาการ และนําผลงานดังกล่าวไปเป็น ส่วนหนึ่งในการเสนอขอตําแหน่งวิชาการตามเกณฑ์การขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ. ซึ่ง หลักเกณฑ์จะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่ วิธีปกติ และวิธีพิเศษ โดยอาจารย์ในสาขาฯ มุ่งเน้นไปที่การขอวิธีปกติซึ่งจะ ใช้เอกสารประกอบการสอน จํานวน 1 วิชา ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต และผลงานวิจัยที่มีการเผยแพร่ จํานวน 2 เรื่อง
คําสําคัญ : บทความวิจัย, ผลงาน, บทความวิชาการ, เผยแพร่, ตําแหน่งวิชาการ

Read more

การเปลี่ยนผ่านจาก SAR สู่ EDPEX

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดําเนินการที่เป็นเลิศ ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการตามแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA ที่เป็นต้นแบบของ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) เกณฑ์ EdPEx คือกรอบที่ทําให้มอง/คิดและ บริหารองค์กรในเชิงระบบ (มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด) และช่วยให้ในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและ ยั่งยืน จากจุดเน้นที่เป็นเรื่องหลักของสถาบันของเรา

คําสําคัญ : EDPEX, TQA, SAR

Read more