เทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ยุคใหม่ให้ประสบความสำเร็จ

แนวปฏิบัติที่ดี : เทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ยุคใหม่ให้ประสบความสำเร็จ

บทนำ
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของสาขาวิชาศิลปกรรมและสื่อสร้างสรรค์ในปีการศึกษา 2564 เนื่องด้วยสถาณการณ์โรคระบาด Covid -19 เพื่อความปลอดภัยของอาจารย์และนักศึกษา ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เป็นรูปแบบ Online เต็มรูปแบบ ทำให้ทั้งอาจารย์ นักศึกษา ต้องปรับตัว ทำให้เกิดปัญหาในบางวิชา โดยเฉพาะวิชาปฏิบัติ ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อสิ้นปีการศึกษามีการทบทวนผลประเมินการจัดการเรียนการสอน ปรากฏว่า มีอาจารย์ได้คะแนนจำนวนหนึ่งที่ได้ผลคะแนนไม่เป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน จึงเห็นถึงความสำเร็จของอาจารย์ที่ได้คะแนนประเมินมากกว่า 4.50 ขึ้นไป มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเทคนิค ความรู้ ในการจัดทำ KM ในครั้งนี้ เพื่อนำไปเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ผู้จัดทำ
อาจารย์มงคล  กลิ่นทับ            หัวหน้ากลุ่ม
ผศ.ยอดศักดิ์    ประชาราษฎร์
อาจารย์สุวพัชร   โสวภาค
อาจารย์ภัทรศักดิ์  สิมโฮง
อาจารย์วันวิสาข์   ภักดีศรี
อาจารย์วีรยุทธ โกศัลวัฒน์
อาจารย์รัตติกาล  อินทะวงษ์
ผศ.ณัฐกมล    ตั้งธนะพงศ์
อาจารย์มาริษา   เอี่ยมวงค์
อาจารย์วัลลภ   ศรีสำราญ
อาจารย์ปุญญรัตน์    รังสูงเนิน
อาจารย์ ดร.สิริกานต์   ไชยสิทธิ์

หน่วยงาน : สาขาศิลปกรรมและสื่อสร้างสรรค์

บทสรุป :  ได้แนวทางการจัดการเรียนรูปแบบออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพได้ประโยชน์ทั้งผู้สอนและผู้เรียน

คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน, การจัดการเรียนการสอนออนไลน์,  การเรียนออนไลน์, เทคนิคการสอนออนไลน์

1. กระบวนการจัดการความรู้

          1.1 การบ่งชี้ความรู้
                 สาขาศิลปกรรมและสื่อสร้างสรรค์มีการอภิปรายจุดแข็งร่วมกันถึงองค์ความรู้ที่จำเป็น ของสาขาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคคลในองค์กร และเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร และจากปีที่ผ่านมาสาขาได้มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เกือบ 100% เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด COVID 19 การจัดการเรียนการสอนออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ประกอบกับสาขาศิลปกรรมและสื่อสร้างสรรค์มีอาจารย์ผู้สอนหลายท่านที่เป็นจุดแข็งของสาขาที่ได้รับการประเมินอยู่ในระดับที่มากที่สุด ทั้งหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ และ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย จึงนำแบบประเมินการสอนรายบุคคลมาร่วมอภิปรายกับกระบวนการการจัดการเรียนการสอน ดังหัวข้อต่อไปนี้

  • ด้านการเตรียมการสอน
  • ด้านความรู้ในเนื้อหา วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ด้านการใช้อุปกรณ์และสื่อในการสนับสนุนการเรียนรู้
  • ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน
  • ด้านบุคลิกภาพของอาจารย์ผู้สอน
  • ด้านการสอนปฏิบัติ                

          1.2 การสร้างและแสวงหาความรู้
                 แสวงหาความรู้จากอาจารย์ที่ได้รับการประเมินการสอนรายบุคคลอยู่ในระดับมากที่สุด โดยร่วมระดมสมอง พูดคุยในประเด็นความสำเร็จของกระบวนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมประชุม จากนั้นนำมาสังเคราะห์จัดเป็นชุดข้อมูลใหม่ โดยแยกรายละเอียดองค์ความรู้ ดังนี้
1.2.1 ด้านการเตรียมการสอน
ก่อนเปิดภาคเรียน
นำ มคอ.3 มาจัดการวางแผนควบคู่กับไปกับ ปฏิทินกิจกรรมคณะ สาขา หลักสูตร งานวิจัยของอาจารย์ โครงการ ง.8 ต่าง ๆ ก่อนเปิดเทอมอาจารย์ในหลักสูตร เอา Course Syllabus และจำนวนชิ้นงานที่จะมอบให้นักศึกษา ในเทอมนั้น มาร่วมกันพิจารณากันก่อน เพื่อปรับให้เหมาะสมกับนักศึกษา แต่ละชั้นปี เหมาะสมกับช่วงเวลาก่อนเปิดเทอมมีการพูดคุยเรื่องการจัดการเรียนการสอน วางแผนเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เพิ่มเติม
ระหว่างภาคเรียน
อาจารย์ผู้สอน แจก Course Syllabus ให้นักศึกษา เมื่อตอนเปิดเทอม ระบุรายละเอียดว่าทั้งเทอมจะมีการจัดการเรียนการสอนอย่างไร ทั้งเทอมมีใบงานงานกี่ชิ้น อธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษา แต่ละรุ่น แต่ละกลุ่ม มีลักษณะนิสัยไม่เหมือนกัน ลักษณะการมอบหมายงานในหัวข้อต่าง ๆ มีการให้นักศึกษาโหวด หน้าที่ในการทำงานกลุ่ม การพานักศึกษา ไปศึกษาดูงานในโครงการต่าง ๆ ทำให้ อาจารย์กับนักศึกษา มีความสนิทกันมากขึ้น ช่องทางที่ให้นักศึกษา แสดงความคิดเห็น เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในช่องแชท โดยไม่ต้องออกตัว เพื่อความสบายใจในการโหวด เช่น ส่งภายในคาบ หรือส่งสัปดาห์หน้า นำเสนอหน้าห้อง หรือ ไม่นำเสนอ
หลังภาคเรียน
อาจารย์ผู้สอน สรุปและนำเสนอผลการจัดการเรียนการสอน รวมถึงผลงาน เกรดของนักศึกษา พูดคุยกันทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระหว่างหลักสูตร
1.2.2 ด้านความรู้ในเนื้อหา วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนความรู้ในเนื้อหา
ค้นหาหนังสือในห้องสมุด ชั้น 3 -4 ในตู้หนังสือหมวดศิลปะและงานออกแบบซื้อหนังสือในประเทศและต่างประเทศ สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต แหล่งข้อมูลต่างประเทศ นำมาแปลแล้วสรุปใจความให้นักศึกษา ศึกษาเรื่องเทรนด์การออกแบบ ประจำปีหรืออนาคต นำความรู้มาเชื่อมโยงกับกระแสเพื่อทำให้ผู้เรียนสนใจมากขึ้น ค่อย ๆ เติมคีย์เวิร์ดสำคัญ ๆ ลงไป หรือเนื้อหาที่ใหม่กว่าก็เติมลงไปแทน
พัฒนาทักษะอาจารย์
ใช้ประสบการณ์ทำงาน จากการฝึกปฏิบัติ เพื่อหาแนวทางในการทำงาน มาสอน นักศึกษา ศึกษาใน tutorial แล้วทดลองปฏิบัติตาม ดูจากหลาย ๆ คนแล้วนำมาประยุกต์ใช้ต่อ ซื้อหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ หรือออฟไลน์ ในสิ่งที่เราไม่รู้หรือสิ่งที่กำลังอยู่ในกระแส การทำงาน workshop หรือการส่งงานสร้างสรรค์เพื่อเข้าร่วมแสดงงานในนิทรรศการระดับชาติและนานาชาติ
วิธีการสอนกิจกรรมการสอน
วิชาเขียนแบบ นิเทศ เมื่อต้องเรียนออนไลน์ใช้วิธีพูดคุยชี้แจงว่าวันนี้เรียนอะไร มีงานอะไร เปิดออนไลน์ทิ้งไว้เพื่อให้นักศึกษา ถามตอบตลอดระยะเวลาการเรียน เชิญคนวนแวดวงอาชีพมาให้ข้อเสนอแนะในรายวิชา วิชาออกแบบตัว นิเทศ โจทย์งานครั้งแรกจะให้เป็นอิสระไปก่อน เพื่อดูความสามารถพื้นฐานที่มี จากนั้นค่อยให้ ทำตามโจทย์ นิเทศ นำกิจกรรมศึกษาดูงานในโครงการมาเป็นส่วนหนึ่งของการออกโจทย์ ขณะที่นักศึกษา ดูงาน ก็จะนำความรู้ที่นักศึกษา ได้ประสบการณ์จากมุมมองต่าง ๆ มาบูรณาการในการออกแบบงานที่แตกต่างและหลากหลายครั้งแรกที่เจอกันในห้อง แต่ละสัปดาห์จะได้ทำอะไรบ้าง ดำเนินตามกิจกรรมตาม Course Syllabus นักศึกษา จะต้องได้ชิ้นงานในตอนจบ และจะมีสถานประกอบการมาประเมินและซื้อไป วิชาถ่ายภาพ มัลติ ให้นักศึกษา ถ่ายภาพจากโทรศัพท์มือถือ มีการบอกรายเกณฑ์การให้คะแนนที่ละเอียด ชิ้นนี้ต้องทำอะไรบ้าง และจะได้กี่คะแนน การทำงานกลุ่ม จำลองสถานการณ์ก่อน เหมือนการทำงานจริงในสถานประกอบการ ทุกคนในกลุ่มต้องทำงานออกแบบเพื่อนำมาประชุมกันว่า งานชิ้นไหนเหมาะสมที่สุดที่จะได้โปรดักชั่น โพสผลงานของนักศึกษา ลงในเพจสาขา ให้นักศึกษา รู้สึกภูมิใจ มีการให้โหวตผลงานกันในชั้นเรียน
การปรับวิธีการสอนตามสภาพปัญหา
การเรียนออนไลน์ในวิชาทางทัศนศิลป์ มีการอัดคลิปวิดีโอสาธิต ให้นักศึกษาดู มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษา ให้เข้ามาเรียน On-Site กับอีกกลุ่ม On-Line แบ่งกลุ่มย่อยเข้ามาเรียน แบ่งกระบวนการทำงาน การส่งงานให้เป็นขั้นตอน ช่องทางการส่งงานออนไลน์ มีการแบ่งโฟลเดอร์ลำดับชิ้นงานอย่างเป็นระบบ พยามสอนออนไลน์ให้เหมือน On-Site มีวิธีการสาธิตการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ การเลือกใช้วิธีการสอน และสื่อการสอน ควรเลือกให้เหมาะกับนักศึกษาแต่ละรุ่น อาจารย์มีการแลกเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนระหว่างรายวิชา ระหว่างเทอม เชิญวิทยากร หรือศิษย์เก่า เข้ามามีส่วนร่วมในกระกวนการจัดการเรียนการสอน
1.2.3 ด้านการใช้อุปกรณ์และสื่อในการสนับสนุนการเรียนรู้
ห้องเรียนออนไลน์
การแบ่งหน่วยการเรียน การส่งงาน การประเมินงาน สื่อการสอน  บันทึกวิดีโอการสอน แล้วอัพโหลดให้นักศึกษา ดูย้อนหลัง ได้แก่ Microsoft team, Google Classroom, LMS RMUTI, Discord, Facebook Classroom และ Edmodo
คลิปวิดีโอ
สื่อการสอนแบบ tutorial  สาธิตการทำงาน หรือสื่อการสอนแบบบรรยาย เพื่อให้นักศึกษาได้เปิดดูย้อนหลัง ได้แก่  อัดคลิปวิดีโอสาธิต YOUTUBE, Berrycast
ซอฟแวร์การทำสื่อการสอนและกิจกรรมการสอน
ได้แก่ POWER POINT, สตีมมิ่ง OBS, Miro, Kahoot, Mentimeter และ Codecombat
แหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
ได้แก่ Thia Mooc, เอกสารประกอบการสอน, คลิปวิดีโอจากคนอื่น ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอน, Infographic ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอน
1.2.4 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน
ชี้แจงเกณฑ์การให้คะแนน และคอมเมนท์งานนักศึกษา ทุกชิ้น เพื่อให้นักศึกษา เห็นพัฒนาการของตนเอง ให้งานจากง่ายไปหายากตามเนื้อหาในรายวิชา ใช้คะแนนเป็นตัวให้นักศึกษา เกิดความสนใจในการส่งงานต่อไป การให้คะแนนหรือประเมินผลงานนักศึกษา จะมีตัวอย่างงานของรุ่นพี่ให้นักศึกษา ดู เพื่อให้ได้เห็นแนวทางในการทำงาน ให้คะแนนตามผลงานของนักศึกษา เป็นรายบุคคล  และความประพฤติ เก็บคะแนน ใบงาน การสอบ จิตพิสัย ผู้สอนจะแชร์คะแนนเก็บให้นักศึกษา เข้าดูได้ เพื่อเป็นการคำนวณคะแนนส่วนตัว ให้คะแนนงานกลุ่ม มีการประเมินกันเองในกลุ่ม (peer to peer) เชิญอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามามีส่วนร่วมในการให้คะแนนและคอมเมนท์งาน ประเมินผลนักศึกษารายบุคคล ส่วนใหญ่เป็นแบบอิงเกณฑ์ในการตัดเกรด
1.2.5 ด้านบุคลิกภาพของอาจารย์ผู้สอน
ผู้สอนเข้าห้องเรียนก่อนเวลาอย่างน้อย 5-10 นาที ผู้สอนพูดภาษาถิ่นกับนักศึกษา ใช้ภาษาที่เป็นกันเอง ความเป็นกันเองกับนักศึกษา ปรับตัวเข้ากับนักศึกษา ความชัดเจนนักศึกษา แอบสังเกตไลฟ์สไตล์ หรือความชื่นชอบส่วนตัวของอาจารย์ มีการทักทายพูดคุยเป็นกันเอง คุยหยอกล้อแอบทวงการบ้าน ทั้งในนอกห้องเรียนและในห้องเรียน รูปโปรไฟล์อาจารย์ในสื่อออนไลน์ มีผลต่อภาพลักษณ์และบุคลิกของอาจารย์ มีช่องทางที่หลากหลายให้นักศึกษา ปรึกษาแบบส่วนตัว (แชต ไลน์ โทร พบที่ห้องพัก) ชี้แจงให้วิธีการและช่องทางการติดต่ออาจารย์ ให้แนะนำตัว บอกชื่อ ชั้นปี จากนั้นค่อยปรึกษา

          1.3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
                 นำแนวปฏิบัติที่ดีมาจัดหมวดหมู่ตามเกณฑ์ประเมินผู้สอนทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.การเตรียมการสอน 2. วิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอน 3.การใช้อุปกรณ์และสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ 4.การวัดผลและประเมินผล 5.บุคลิกภาพของอาจารย์ผู้สอน และได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสร้าง Diagram

          1.4 การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
              ได้สรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดี โดยสามารถสร้างเป็น Diagram ดังนี้

          1.5 การเข้าถึงความรู้
                 แชร์ Diagram เพื่อนำไปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีนำผลการจัดทำการความรู้ไปในการปฏิบัติงานหรืองานที่เกี่ยวข้อง โดยบุคลากรสามารถเข้าดูรายงานผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ได้ที่ One Drive ของสาขา

          1.6 การแลกเปลี่ยนความรู้
                 เผยแพร่ KM แล้วดูว่าผู้ที่สนใจ หรือมีข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อนำมาปรับใช้ได้ในอนาคต

          1.7 การเรียนรู้
                 เกิดการเรียนรู้ จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีระหว่าง 3 หลักสูตร เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนต่อไป

2. วิธีการดำเนินงาน
– หารือ นัดหมายเบื้องต้น ในกลุ่มไลน์ของอาจารย์สาขาศิลปกรรมและสื่อสร้างสรรค์
– เลือกประเด็นที่สนใจ เป็นเรื่องการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์
– เชิญอาจารย์ผู้สอนที่ได้คะแนนประเมินมากกว่า 4.50 มาร่วมให้ข้อมูลกับ CEO สาขา
– เลือกร้านกาแฟ บรรยากาศสบาย ๆ เป็นสถานที่ในการประชุม เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ
– ประชุมระดมสมอง พูดคุยแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี
– จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

3. ภาพแสดงการดำเนินงาน

4. ผลและการอภิปรายผลการดำเนินงาน
          ได้แลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนในหลายมิติ จากอาจารย์ผู้มีผลประเมินมากกว่า 4.50 ขึ้นไป

5. สรุป / ประโยชน์ที่ได้รับ
          นำไปเผยแพร่ต่ออาจารย์ในสาขา เพื่อนำวิธีการใหม่ ๆ มาปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น