การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

บทสรุป
           การดำเนินการจดทรัพย์สินทางปัญญาที่ต่อยอดจากผลงานวิจัย การสร้างสรรค์ผลงาน สิ่งประดิษฐ์ของบุคลากร อาจารย์ในสาขาวิชาพบว่า ผลที่เกิดขึ้นจากการยื่นขอจดและประสบความสำเร็จในการได้รับเอกสารความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สามารถนำไปยื่นขอรับค่าตอบแทนจากมหาวิทยาลัยได้ และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้ โดยอยู่ในส่วนผลงานทางวิชาการกลุ่ม 2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ได้แก่ สิทธิบัตร โดยสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ได้นำนโยบายการจัดการความรู้ ประเด็นการวิจัย หรือพัฒนานวัตกรรมสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ มาจัดการดำเนินงานวิจัยและต่อยอดผลงานวิจัยสู่การยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา จนได้แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อจัดกิจกรรมและดำเนินงาน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน องค์ความรู้กับบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จึงขอนำเสนอประเด็นการจัดการความรู้ในเรื่อง การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ
คำสำคัญ : ทรัพย์สินทางปัญญา, สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์, ตำแหน่งทางวิชาการ

ชื่อ-นามสกุล  ผู้นำเสนอ
1. อ.ดร.สิทธิศักดิ์ รัตนประภาวรรณ
2. อ.ดร.กฤษณ์ วิไลโอฬาร
3. อ.ดร.กัลยกร จันทรสาขา
4. อ.ดร.นันทิยา ณ หนองคาย
5. อ.ดร.ชาญชัย รอดเลิศ
6. ผศ.ดร.กฤษฎา ดูพันดุง
7. อ.ดร.วิลาสินี ขำพรหมราช
8. อ.กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย
9. อ.กมลชนก ธนวงศ์ทองดี
10. ผศ.จิรวัฒน์ จันทร์สว่าง
11. อ.ปอยหลวง บุญเจริญ
12. อ.นันทนา ทองดี
13. อ.ณัฏฐริกา กงสะกุ

หน่วยงาน : สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม

บทนำ
         การสร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และการใช้นวัตกรรม  บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การผลิต การบริการ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศ ถือเป็นพันธกิจหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : เพื่อสร้างความเข้มแข็งของงานวิจัย พัฒนา และการต่อยอด สู่นวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรมได้นำนโยบายมาดำเนินงานและได้รับความสำเร็จในการนำผลงานการออกแบบ ผลงานสร้างสรรค์ จากงานวิจัย ไปขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เช่น สิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรมโดยตรง และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความเชี่ยวชาญและความสามารถทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของอาจารย์ในสาขาวิชา และสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังสามารถนำไปยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้

1. กระบวนการจัดการความรู้
         1.1 การบ่งชี้ความรู้
         ประชุมอาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม เพื่อกำหนดองค์ความรู้ในการดำเนินสร้างความเข้มแข็งของงานวิจัย พัฒนา และการต่อยอดสู่นวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ในการจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ
         1.2 การสร้างและแสวงหาความรู้
         จัดประชุมหารือเสนอแนะร่วมกัน เพื่อทบทวนกระบวนการดำเนินงานการจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ ให้สอดคล้องกับพันธกิจและประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย  ร่วมนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีของหน่วยงาน หรือองค์กรอื่น ๆ ที่เคยดำเนินงานในลักษณะเดียวกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาให้เกิดผลสำเร็จสูงสุด
         1.3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
         บันทึกความรู้และรวบรวมข้อมูลเอกสาร เพื่อจัดทำผังการดำเนินงานการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผลของงานวิจัย การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ   
         1.4 การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
         นำความรู้ที่ได้ และเอกสารมากลั่นกรอง จัดลำดับความสำคัญก่อน – หลัง  แยกหมวดหมู่ เพื่อกำหนดขอบเขตการดำเนินงานให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการการจดทรัพย์สินทางปัญญา     
         1.5 การเข้าถึงความรู้
         เก็บรวบรวมบันทึกความรู้ และผังการดำเนินงาน รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบใน Google Drive ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม โดยให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลแก่อาจารย์ประจำสาขาวิชาทุกท่านในการดาวน์โหลดและเปิดอ่านข้อมูลได้

เผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้อาจารย์ทุกท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย
เผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้อาจารย์ทุกท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย
เผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้อาจารย์ทุกท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย
เผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้อาจารย์ทุกท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย

         1.6 การแลกเปลี่ยนความรู้
         ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ การนำแนวปฏิบัติที่ดีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ ในโครงการที่อาจารย์ในสาขาวิชามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน  เพื่อนำจุดเด่นที่เป็นข้อสังเกตมาเผยแพร่ให้แก่อาจารย์ที่เข้าร่วมประชุมเกิดแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดผลงานวิจัยสู่การยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา และเพื่อส่งเสริมให้อาจารย์มีแนวทางปฏิบัติที่ดีในการนำผลงานสิ่งประดิษฐ์ ผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากงานวิจัย เสนอขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา ประเภท สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์  ที่จะเป็นประโยชน์แก่การขอรับค่าตอบแทน และสามารถยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไปในอนาคต
         1.7 การเรียนรู้
         ติดตามการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และมีประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอ เพื่อนำกลับมาทบทวนและวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานที่มีการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

2. วิธีการดำเนินงาน
         2.1 ขั้นตอนการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา
                   1) คัดเลือกประเด็นองค์ความรู้จากผลของงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ที่จะขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา
                   2) การจัดทำแผนการต่อยอดงานวิจัย สู่การขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา
                   3) ศึกษาข้อมูล เตรียมรูปภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์ รูปภาพผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์
                   4) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา จากหน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และกรอกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบและการประดิษฐ์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามแบบฟอร์ม
                   5) ยื่นคำร้องขอจดทรัพย์สินทางปัญญาตามลำดับสายงาน สาขาวิชา คณะ ไปยังหน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
                   6) ติดตามผลการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา
                   7) สรุปผลการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าได้รับความคุ้มครองสามารถยื่นขอรับค่าตอบแทน และสามารถนำไปประกอบการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไปในอนาคตได้
         2.2 เทคนิควิธีการและแนวปฏิบัติที่ดีที่ใช้ในการดำเนินงาน
                   1) ศึกษาข้อมูล และรายละเอียดด้านการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา
                   2) จัดเตรียมรูปภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์ ผลงานสร้างสรรค์ ผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการต่อยอดงานวิจัย หรืองานอื่น ๆ สู่การขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา
                   3) การนำองค์ความรู้มาใช้ในการเผยแพร่ให้แก่อาจารย์ บุคลากรในสาขาวิชา ที่มีผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ สามารถนำไปสู่จัดเตรียมผลงานของตนเอง เพื่อการจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการในอนาคต และขอรับค่าตอบแทนจากมหาวิทยาลัยได้
                   4) ทำให้สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ดำเนินงานได้สำเร็จตามประเด็นยุทธศาสตร์ด้านสร้างความเข้มแข็งของงานวิจัย พัฒนา และการต่อยอดสู่นวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ด้านการสร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และการใช้นวัตกรรม  บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การผลิต การบริการ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศ

3. ภาพแสดงการดำเนินงาน

คัดเลือกประเด็นองค์ความรู้จากงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ที่จะขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา
คัดเลือกประเด็นองค์ความรู้จากงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ที่จะขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา
คัดเลือกประเด็นองค์ความรู้จากงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ที่จะขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ภาพผลงานสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ : เก้าอี้
ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การออกแบบเก้าอี้พักผ่อนที่มีส่วนประกอบจากเศษผ้าฟั่น
โดยใช้เทคการฟั่นสายสะพายควาย
ของอาจารย์ ดร.สิทธิศักดิ์ รัตนประภาวรรณ
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
บรรยากาศการถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน
บรรยากาศการถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน

 ผลและการอภิปรายผลการดำเนินงาน
         การจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยใช้แนวปฏิบัติที่ได้จากการจัดการความรู้ ถือว่าประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ดังนี้
                   1.1 เกิดองค์ความรู้และการเรียนรู้ที่ใช้ในการพัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์สู่การยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถขอรับค่าตอบแทนได้
                   1.2 องค์ความรู้ที่ได้จากการจดทรัพย์สินทางปัญญา สามารถนำไปใช้ในการประกอบการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้
                   1.3 บรรลุพันธกิจหลักและประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

สรุป/ประโยชน์ที่ได้รับ
         จากการสรุปและอภิปรายผลร่วมกันทำให้ทราบว่าแนวปฏิบัติที่ดีในการจดทรัพย์สินทางปัญญาสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ มีประสิทธิภาพที่จะส่งเสริมให้บุคลากร อาจารย์ เกิดมุมมองในการนำงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ ไปต่อยอดในการยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) อันเกิดจากการคิดค้นหรือคิดทำขึ้น ให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือวิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิตหรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ หรือ เพื่อคุ้มครองแบบผลิตภัณฑ์ (Product Designs) ซึ่งหมายถึง รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบลวดลาย หรือสีสันของผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องมีลักษณะพิเศษของผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้เป็นแบบสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรม หรือหัตถกรรมได้ หรือที่เรียกว่า “การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” (Industrial Designs)ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรมโดยตรง และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความเชี่ยวชาญและความสามารถทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของอาจารย์ในสาขาวิชา และสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยได้ เช่น สิทธิบัตรการออกแบบ “เก้าอี้” ไปผลิตเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ในอนาคต เป็นต้น