การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรม

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรม

บทสรุป
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) มีผลการดำเนินงานปี 2562 องค์ประกอบด้านคุณภาพอาจารย์ ในระดับคะแนนเพิ่มขึ้น เท่ากับ 5 คะแนน จากการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาอาจารย์เฉพาะหลักสูตร ซึ่งกลไกสำคัญเกิดจาก 1) การประชุมเชิงปฎิบัติด้านการการทบทวนแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานหลักสูตร ภายในคณะ 2) การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกัน ภายในสาขา 3) การจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ ภายในหลักสูตร 4) ความร่วมมือระหว่างอาจารย์ในหลักสูตร ในการพัฒนาทักษะด้านวิชาการ วิชาชีพ 5) การประเมินกระบวนการ โดยอาศัยการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตร (SAR) โดยผลลัพธ์จากการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาอาจารย์ คือ อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน ได้รับการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และอาจารย์ 2 ท่าน มีผลงานวิชาต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาดำเนินงานหลักสูตร 2561 นอกจากนั้น ผลที่ได้จากการจัดการองค์ความรู้นี้ ใช้เพื่อปรับปรุงแผนพัฒนารายบุคคล (Individual plan) เพื่อส่งเสริมด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะของอาจารย์ และการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรในปีถัดไป
คำสำคัญ : –

ชื่อ-นามสกุล  ผู้นำเสนอ
1. อ. ปัทมาภรณ์ รัตนประดับ (หัวหน้าโครงการ)
          2. ผศ. ดวงนภา ศิลปสาย (หัวหน้าสาขา)
         3. ผศ. อลงกรณ์ ถนิมกาญจน์ (ประธานหลักสูตร)
          4. ผศ.ดร. รจเรข แสงอาทิตย์ (กรรมการหลักสูตร)
          5. ดร. ศุภชัย ชัยจันทร์ (กรรมการหลักสูตร)
          6. อ. สิริพร  วาสนาประเสริฐ
          7. อ.พงษ์ศักดิ์  ลอยฟ้า
          8. ผศ.สุธน  คงศักดิ์ตระกูล
          9. อ.จิรศักดิ์  มากกลาง
          10. อ.สายชล  ครอบกลาง

หน่วยงาน : สาขาวิชา สถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม

บทนำ
          จากโครงการการทบทวนแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานของหลักสูตรภายในคณะ และ การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา มีผลให้อาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกันกำหนดกรอบการพัฒนาอาจารย์ปี 2562 ที่สอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพหลักสูตร ดังนี้ (1) การบริหารและดำเนินงานหลักสูตรตามพันธกิจหลัก 5 ด้าน (2) การส่งเสริมอาจารย์เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ หรือปรับคุณวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น (3) ทักษะที่ต้องการเน้น หรือคุณสมบัติของบัณฑิตในหลักสูตร ตามแผนพัฒนาผู้เรียน คือ บัณฑิตนักปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรม ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
          วิธีการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้คุณภาพอาจารย์เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ มี 3 แนวทางหลัก ดังนี้ (1) การพัฒนาทักษะด้านการบริหารหลักสูตร และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับหลักสูตรอื่น เช่น การประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อทบทวนแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารหลักสูตรฯ, การประชุมเชิงปฎิบัติการด้านการจัดการความรู้ (KM), การเข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำร่างผังเมืองรวม จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (2) การจัดผลงานทางวิชาการ และการเข้าฝึกอบรมทักษะด้านต่างๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักสูตร เช่น โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ “การคิดเชิงออกแบบเพื่อการออกแบบชุมชนเมือง Design Thinking for Urban Design”, โครงการวัฒนธรรมศึกษาสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์วาดเส้นสีน้ำ “เมืองไทเป”, โครงการสัมมนา เรื่อง “มาตรฐานการออกแบบอาคารเขียว และการนำเทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคารมาวิเคราะห์ปัญหา” (3) การจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การวางระบบผู้สอน โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบกลุ่มวิชาหลัก ช่วยติดตามการจัดการเรียนการสอน , การประชุมเพื่อเสนอปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอน ,การจัดทำโครงการบริการวิชาการ ร่วมกับรายวิชาออกแบบ (Project based learning) เป็นต้น ดังตารางที่ 1 กรอบพัฒนาคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตร

ตารางที่ 1 กรอบพัฒนาคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตร (โดยย่อ)

           จากการกำหนดกรอบพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร และ จากการอภิปรายผลร่วมกันของอาจารย์ประจำหลักสูตร สามารถสรุปกระบวนการจัดการการความรู้ และปัจจัยสนับสนุนให้ค่าระดับคะแนนด้านการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ที่เพิ่มขึ้น ได้ดังนี้

1. กระบวนการจัดการความรู้

         1.1 การบ่งชี้ความรู้ 
         การบ่งชี้ความรู้ จากการจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร  ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน มีการจัดทำและเผยแพร่ผลงานวิชาการในระดับชาติ/นานาชาติ และ อาจารย์ 2 ท่าน มีผลงานวิชาการต่อเนื่อง ตลอดระยะการบริหารหลักสุตร (ปรับปรุง พ.ศ.2561)

         1.2 การสร้างและแสวงหาความรู้
         1) การประชุมเชิงปฎิบัติด้านการการทบทวนแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานหลักสูตร ภายในคณะ 2) การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกัน ภายในสาขา 3) การจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ ภายในหลักสูตร 4) ความร่วมมือระหว่างอาจารย์ในหลักสูตร ในการพัฒนาทักษะด้านวิชาการ วิชาชีพ 5) การประเมินกระบวนการ โดยอาศัยการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตร (SAR)      1.3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
         ด้านการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ ปรัปบรุงแผนพัฒนารายบุคคล (Individual plan) เพื่อส่งเสริมด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะของอาจารย์ และการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรในปีถัดไป
         ด้านการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดระบบความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ เน้นการจัดระบบความรู้ที่ได้จากการอบรม / จัดทำผลงานวิชาการ โดยการผนวกความรู้เข้ากับการจัดการเรียนการสอน และผลงานวิชาการ

         1.4 การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
         ด้านการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าระดับคะแนนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานหลักสูตร
         ด้านการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การประมวลผลความรู้ โดยการใช้การปรับปรุงสื่อการสอน และ เอกสารประกอบการสอนการกลั่นกรองความรู้ โดยการจัดทำผลงานวิชาการอื่น เช่น บทความวิชาการ งานวิจัย หรือผลงานวิชาการในลักษณะอื่น

         1.5 การเข้าถึงความรู้
          การเข้าถึงความรู้ เพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตร ดำเนินการจากการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ในสาขา และกรรมการหลักสูตร / การตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตร / การประชุมเชิงปฎิบัติการการทบทวนแผนกลยุทธ์ระดับคณะ /มหาวิทยาลัย

         1.6 การแลกเปลี่ยนความรู้
         การทบทวนแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานของหลักสูตร ภายในคณะ และการประชุมเชิงปฎิบัติการการจัดการความรู้ (KM)

         1.7 การเรียนรู้
         การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกัน ภายในหลักสูตร เพื่อการปรัปปรุงและวางแผนพัฒนารายบุคคล ในปี 2563 (Individual plan) เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะของอาจารย์ในหลักสูตร

2. วิธีการดำเนินงาน

ผลและการอภิปรายผลการดำเนินงาน
          การกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาอาจารย์เฉพาะหลักสูตร มีกลไกสำคัญโดย 1) การประชุมเชิงปฎิบัติด้านการการทบทวนแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานหลักสูตร ภายในคณะ 2) การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกัน ภายในสาขา 3) การจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ ภายในหลักสูตร 4) ความร่วมมือระหว่างอาจารย์ในหลักสูตร ในการพัฒนาทักษะด้านวิชาการ วิชาชีพ5) การประเมินกระบวนการ โดยอาศัยการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตร (SAR)
           ผลลัพธ์จากการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาอาจารย์ คือ ระดับคะแนนที่เพิ่มขึ้น และ การเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ ไปยังการจัดการเรียนการสอนและคุณภาพหลักสูตร เช่น การนำความรู้ที่ได้จากการอบรม /จัดทำผลงานวิชาการ ไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน , การปรับปรุงสื่อการสอน และ การจัดทำผลงานวิชาการอื่น เช่น บทความวิชาการ เอกสารประกอบการสอน หรือผลงานวิชาการในลักษณะอื่น เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ เป็นไปตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด

สรุป/ประโยชน์ที่ได้รับ
         องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ในหลักสูตร ใช้เพื่อกำหนดแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล (Individual plan) เพื่อส่งเสริมความเชี่ยวชาญเฉพาะของอาจารย์ และคุณภาพหลักสูตรในปีถัดไป