แนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายงบประมาณวิจัย รายได้/รายจ่าย

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : แนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายงบประมาณวิจัย รายได้/รายจ่าย

บทสรุป
         การจัดทำแนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายงบประมาณวิจัย รายได้/รายจ่าย จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการดำเนินการเบิก – จ่าย งบประมาณในการดำเนินการโครงการวิจัย ทั้งงบประมาณ รายได้ / รายจ่ายเป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อย และสามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนเป็นการแนะแนวทางในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเบิก – จ่าย ให้ถูกต้องและครบถ้วนเป็นตามรายการค่าใช้จ่ายที่ระบุไว้ในโครงการวิจัย ดังนั้น การดำเนินการเบิก – จ่าย งบประมาณในการดำเนินโครงการวิจัย ทั้งงบประมาณ รายได้ / รายจ่าย จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ สัญญา คู่มือ และแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดอย่างเคร่งครัด
คำสำคัญ : การเบิกจ่าย , วิจัยงบรายได้ , วิจัยงบรายจ่าย

Read more

การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรม

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรม

บทสรุป
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) มีผลการดำเนินงานปี 2562 องค์ประกอบด้านคุณภาพอาจารย์ ในระดับคะแนนเพิ่มขึ้น เท่ากับ 5 คะแนน จากการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาอาจารย์เฉพาะหลักสูตร ซึ่งกลไกสำคัญเกิดจาก 1) การประชุมเชิงปฎิบัติด้านการการทบทวนแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานหลักสูตร ภายในคณะ 2) การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกัน ภายในสาขา 3) การจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ ภายในหลักสูตร 4) ความร่วมมือระหว่างอาจารย์ในหลักสูตร ในการพัฒนาทักษะด้านวิชาการ วิชาชีพ 5) การประเมินกระบวนการ โดยอาศัยการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตร (SAR) โดยผลลัพธ์จากการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาอาจารย์ คือ อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน ได้รับการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และอาจารย์ 2 ท่าน มีผลงานวิชาต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาดำเนินงานหลักสูตร 2561 นอกจากนั้น ผลที่ได้จากการจัดการองค์ความรู้นี้ ใช้เพื่อปรับปรุงแผนพัฒนารายบุคคล (Individual plan) เพื่อส่งเสริมด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะของอาจารย์ และการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรในปีถัดไป
คำสำคัญ : –

Read more

หลักการเขียนขออนุมัติโครงการแบบในแผนและนอกแผน

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : หลักการเขียนขออนุมัติโครงการแบบในแผนและนอกแผน

บทสรุป
ในการบริหารจัดการสาขา และการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร แผนการบริหารจัดการเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนา ซึ่งการจัดทำกิจกรรมและโครงการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยการการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิที่ภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้บริหารจะต้องวางนโยบายการพัฒนา เมื่อได้รับนโยบายแล้วให้ผู้รับผิดชอบได้กำหนดแผนการดำเนินงานในโครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับตามลำดับ  ซึ่งกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้การจัดกิจกรรมหรือโครงการ ที่ผู้รับผิดชอบได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ให้ทันสถานการณ์ปัจจุบัน และนำมาต่อยอดการจัดการเรียนการสอน
คำสำคัญ : แบบ ง.8 , การขออนุมัติโครงการ

Read more

การพัฒนานักศึกษา: การส่งเสริมกิจกรรมเข้าร่วมประกวดการออกแบบ (กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาบัณฑิตนักสร้างสรรค์นวัตกรรม)

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : การพัฒนานักศึกษา : การส่งเสริมกิจกรรมเข้าร่วมประกวดการออกแบบ (กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาบัณฑิตนักสร้างสรรค์นวัตกรรม)

บทสรุป 
การส่งเสริมการเรียนรู้และประสบการณ์ต่อผู้เรียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งคณะศิลปกรรมและ ออกแบบอุตสาหกรรมมีโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับผู้ที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียน กับการมี ส่วนร่วมในกิจกรรมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน “บัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบ” หากเพียงแต่การให้ความสําคัญนั้นมีผลกระทบต่อการ เรียนในสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกับระบบการจัดการเรียนการสอน อันส่งผลต่อตัว ผู้เรียนเป็นสําคัญ เช่น การส่งงานไม่ตรงตามเวลาที่ผู้สอนกําหนด การพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลต่อการ เข้าชั้นเรียน คุณภาพของผลงาน ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และจุดประสงค์ที่ผู้สอนตั้งไว้ ผู้เรียนเกิด ความท้อแท้ต่อการเรียน สาขาวิชาจึงใช้วิธีสํารวจโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการสังเกตและ สัมภาษณ์ผู้เรียนผู้สอนถึงสภาพปัจจุบันทุกภาคการศึกษาจากการติดตามโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ถึง ปัญหาที่เกิดขึ้น อันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน 
สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ใช้แนวปฏิบิตการจัดการเรียนการสอนโดยการ ปรับการเรียนให้เป็นกิจกรรม (Learning by Activity) เป็นการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ โครงการหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนให้ความสําคัญ นั่นคือ โครงการส่งเสริมเข้าร่วมประกวดทักษะทาง วิชาชีพด้านการออกแบบ (โครงการนอกแผน) โดยได้ส่งเสริมให้นักศึกษาในสาขาได้เข้าร่วมโครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ T-Style: Big Toy Design 2019 “61+ วัยเก๋เขาเล่นอะไร?” ซึ่งเป็นการเข้า ร่วมอบรมและประกวดการออกแบบของเล่นเพื่อผู้สูงอายุ (กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาบัณฑิต นักสร้างสรรค์นวัตกรรม) ตามแนวคิดแบบ “Constructivism” มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ แบบหลักการสอนในเชิงกิจกรรมการเรียนรู้ (Activity-Based Learning) ในรายวิชาได้แก่ วิชาเทคโนโลยีพื้นฐานเพื่อการออกแบบ, วิชาการตลาดเพื่อการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ และ วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบและผลิต 2
คําสําคัญ : การพัฒนานักศึกษา, การส่งเสริมการเรียนรู้

Read more

การบริการวิชาการสังคมกับการเรียน การสอน และการวิจัย

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : การบริการวิชาการสังคมกับการเรียน การสอน และการวิจัย

บทสรุป
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge management KM) ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี การบริการวิชาการสังคมกับการเรียน การสอน และการวิจัย เป็นการทำจากการนำประสบการณ์ ความรู้ จากผู้มีประสบการณ์ ผศ.ดร.กฤษฎา ดูพันดุง และ อ.กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย มาให้คำชี้แนะในการทำ การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge management KM) โดยสรุปออกแบบในรูปแบบของการบรรยายเนื้อหาและแผนภูมิเพื่อให้เกิดความง่ายต่อการเข้าใจ และการนาไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
คำสำคัญ : การบริการวิชาการ การสอน และการวิจัย

Read more

แนวทางในการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ จากผลของงานวิจัย

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : แนวทางในการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผลของงานวิจัย

บทสรุป
การดำเนินโครงการบริการวิชาการด้วยองค์ความรู้จากผลของงานวิจัย ที่นักวิจัยมีโอกาสได้ลงพื้นที่จริงเพื่อสารวจความต้องการในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมหรือแก้ปัญหาให้แก่ชุมชน พบว่าผลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาบริบทของชุมชนในขอบเขตของพื้นที่เพื่อการดำเนินงานวิจัย ทาให้ผู้วิจัยได้ทราบความต้องการที่แท้จริงของคนในชุมชนตามลำดับ และอาจารย์ทุกท่านสามารถนำกลับมากำหนดประเด็นเพื่อบริหารจัดการการดำเนินงานวิจัยของตนเองได้อย่างครอบคลุม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมที่สาขาวิชาได้นำไปจัดในรูปแบบของการบริการวิชาการอันเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้จากผลของงานวิจัย เป็นประโยชน์และตรงกับความต้องการของชุมชนในขณะนั้น ทาให้คนในชุมชนที่ร่วมกิจกรรมเล็งเห็นขีดความสามารถของบุคลากรในสาขาวิชาที่จะช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนในชุมชนเกิดความเข้มแข็งขึ้นได้ จึงส่งผลให้เกิดความร่วมมือและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอยู่เสมอ ซึ่งนับว่าแนวปฏิบัติที่ดีในการบริการวิชาการด้วยองค์ความรู้จากผลของงานวิจัยประสบผลสาเร็จในระดับมาก
คำสาคัญ : บริการวิชาการ, สังคมและชุมชน, ผลของงานวิจัย

Read more

การติดตามความคืบหน้าวิทยานิพนธ์เพื่อเพิ่มอัตราการสำเร็จการศึกษา

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : การติดตามความคืบหน้าวิทยานิพนธ์เพื่อเพิ่มอัตราการสำเร็จการศึกษา

บทสรุป
แนวทางการปฏิบัติที่ดีการติดตามความคืบหน้าวิทยานิพนธ์เพื่อเพิ่มอัตราการสำเร็จการศึกษาเป็นการนำแนวปฏิบัติของหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายในมานำเสนอ เพื่อให้นักศึกษาได้มีผลงานวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพตามกรอบคุณวุฒิและสำเร็จการศึกษาให้ได้ตามระยะเวลาของหลักสูตร จากการเตรียมความพร้อมของหลักสูตรแผนการดำเนินการวิทยานิพนธ์ การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อกำกับดูแลอย่างต่อเนื่องการบริหารจัดการการทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาให้มีผลที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ : ความคืบหน้า, วิทยานิพนธ์, อัตราการสำเร็จการศึกษา

Read more

เทคนิคการเผยแพร่บทความวิจัยเพื่อนําไปขอตำแหน่งทางวิชาการ

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : เทคนิคการเผยแพร่บทความวิจัยเพื่อนําไปขอตําแหน่งทางวิชาการ

บทสรุป
การยื่นขอตําแหน่งวิชาการเป็นอะไรที่อาจารย์ทุกท่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากตําแหน่งวิชาการ เป็นการแสดงถึงศักยภาพของอาจารย์และการยอมรับในวงการวิชาการด้านการสอน การวิจัย และการให้บริการ วิชาการ ส่งผลให้สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงจากการประกันคุณภาพการศึกษาและมีการจัดอันดับ ด้านการเรียนการสอน การทําวิจัยในระดับที่สูงขึ้น และอาจารย์ผู้มีตําแหน่งวิชาการยังได้รับค่าตอบแทนประจํา ตําแหน่งอีกด้วย อาจารย์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีหน้าที่แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การสอน การทําวิจัย การบริการวิชาการ การทํานุบํารุงศิลปะวัฒนธรรม โดยเฉพาะการทําวิจัยซึ่งเป็นงานที่ได้พัฒนาศักยภาพของ อาจารย์ โดยสาขาฯ มีผลงานวิจัยของอาจารย์อย่างต่อเนื่องทุกปี และได้รับการเผยแพร่ผลงานทั้งในระดับชาติและ นานาชาติ
เพื่อไม่ให้ผลงานวิชาการที่ได้จากการทําวิจัยของอาจารย์สูญเปล่า อาจารย์ในสาขาฯ จึงได้ค้นหาเทคนิค ต่าง ๆ ในการเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการและประชุมวิชาการ และนําผลงานดังกล่าวไปเป็น ส่วนหนึ่งในการเสนอขอตําแหน่งวิชาการตามเกณฑ์การขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ. ซึ่ง หลักเกณฑ์จะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่ วิธีปกติ และวิธีพิเศษ โดยอาจารย์ในสาขาฯ มุ่งเน้นไปที่การขอวิธีปกติซึ่งจะ ใช้เอกสารประกอบการสอน จํานวน 1 วิชา ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต และผลงานวิจัยที่มีการเผยแพร่ จํานวน 2 เรื่อง
คําสําคัญ : บทความวิจัย, ผลงาน, บทความวิชาการ, เผยแพร่, ตําแหน่งวิชาการ

Read more

การเข้าสู่ตาแหน่งวิชาการของอาจารย์ สาขาทัศนศิลป์

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)
สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ปีการศึกษา 2562

ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี : การเข้าสู่ตาแหน่งวิชาการของอาจารย์ สาขาทัศนศิลป์

บทสรุป
การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการของอาจารย์นับว่าประสบความสาเร็จเป็นอย่างดี ทำให้หลักสูตรได้มาตราฐานตามเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนดส่งผลให้การบริหารจัดการหลักสูตรมีประสิทธิภาพ
สาขาวิชามีการประชุมวางแผนระยะเวลาให้บุคลากรในสาขาเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ เพื่อเป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร สาขามีการหาช่องทางการนาเสนอผลงานทั้งด้าน บทความผลงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์ต่างๆให้กับบุคลากรสาขาในทุกๆ ปี รวมถึงการทำ MOU กับสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีเวทีการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

Read more

แนวทางการส่งเสริมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และเสริมสร้างบรรยากาศให้กับนักศึกษาสาขาการจัดการผังเมือง

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : แนวทางการส่งเสริมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และเสริมสร้างบรรยากาศให้กับนักศึกษาสาขาการจัดการผังเมือง

บทสรุป
หลักสูตรได้ทำกระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยสอบถามนักศึกษาและอาจารย์ เพื่อปรับปรุงให้เพียงพอเหมาะสมต่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ หลักสูตรจัดทำห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี ณ อาคาร 22 โดยทางหลักสูตรได้จัดทำห้องปฏิบัติการจำนวน 2 ห้อง ได้แก่ ห้อง 22506 และห้อง 22507 โดยภายในห้องได้จัดให้มีระบบอินเทอร์เนต ระบบแสงสว่าง พัดลม และมีชุดโต๊ะ เก้าอี้ ที่เพียงพอต่อการใช้งานของนักศึกษา และปรับปรุงห้องเรียน ห้อง 22310 เป็นห้อง Smart Classroom โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ชุดจอและเครื่องฉาย คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสำหรับการสอน และเครื่องฉายทึบแสง รวมถึงการปรับปรุงบริเวณพื้นที่ใช้สอย ได้แก่ ที่นั่งพักคอยรอเรียน โดยปรับภูมิทัศน์และมีชุดโต๊ะ เก้าอี้เพื่อให้นักศึกษาได้มีการสันทนาการระหว่างรอเรียน
คำสำคัญ : แนวทางการส่งเสริม สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

Read more