การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ และการเขียนบทความในวารสาร “สถาปัตย์นิทรรศน์” นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ (CDAST)

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี  การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ และการเขียนบทความในวารสาร “สถาปัตย์นิทรรศน์” นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ (CDAST)

บทสรุป

          สาขาสถาปัตยกรรมมีคณาจารย์ที่ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาชีพหรือผลงานสร้างสรรค์ในนิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ ซึ่งจัดขึ้นโดยสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) มาอย่างต่อเนื่อง และได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาชีพ รวมถึงการส่งผลงานเข้าร่วมนิทรรศการ มาเผยแพร่แก่คณาจารย์ในสาขาสถาปัตยกรรม ซึ่งหลังจากคณาจารย์ได้รับฟังแนวทางการนำเสนอผลงานดังกล่าว ผลปรากฏว่าโดยในปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมามีผลงานสร้างสรรค์ของท่านอาจารย์พงษ์ศักดิ์ ลอยฟ้า ชื่อผลงาน The 29 Place ที่ตั้ง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้รับรางวัล ผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น ในงานนิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ “สถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 6” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 ธันวาคม 2565 ซึ่งอาจารย์สามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดในด้านอื่นๆ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การขอตำแหน่งทางวิชาการ ภาระงานของบุคลากร(การประเมินขั้นเงินเดือน) เอกสารประกอบการประกันคุณภาพ (มคอ.7) รวมถึงการการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ และสาขาสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังสามารถนำประสบการณ์มาใช้ในการเรียนการสอนแก่ นศ.ได้เป็นอย่างดี
คำสำคัญ : ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์, สถาปัตย์นิทรรศน์, การประกันคุณภาพการศึกษา

Read more

การเสริมสร้างประสบการณ์จริง การเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการให้กับนักศึกษาและบุคลากรสาขาสถาปัตยกรรม

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี : การเสริมสร้างประสบการณ์จริง การเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการให้กับนักศึกษาและบุคลากรสาขาสถาปัตยกรรม

บทสรุป
          สาขาสถาปัตยกรรมได้ดำเนินโครงการการเสริมสร้างประสบการณ์จริง การเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ให้กับนักศึกษาและบุคลากร สาขาสถาปัตยกรรม  โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาและบุคลากรได้รับความรู้ ความเข้าใจ  รวมถึงรูปแบบและขั้นตอนการส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่กับงานประชุมวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ  ผลจากการดำเนินการสามารถส่งผลงานได้จริง  โดยมีรายละเอียดดังนี้ นักศึกษาส่งเผยแพร่กับงานประชุมวิชาการในระดับชาติ จำนวน 2 คน ต่อ 1 บทความและบุคลากรในสาขาสถาปัตยกรรมส่งเผยแพร่กับงานประชุมวิชาการในระดับชาติ จำนวน 4 คน จำนวน 4 บทความวิจัย และทั้งนี้บทความวิจัยของบุคลากรที่ส่งงานประชุมวิชาการในระดับชาติ  สามารถปรับเป็นวารสารได้จำนวน 1 บทความ 1 เล่ม ผลงานของนักศึกษาและอาจารย์สามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดในด้านอื่นๆได้แก่ การพัฒนาบุคลากร  การขอตำแหน่งทางวิชาการ  ภาระงานของบุคลากร(การประเมินขั้นเงินเดือน)  เอกสารประกอบการประกันคุณภาพ(SAR)หมวดอาจารย์  การประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร เป็นต้น 
           ดังนั้นแนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลและความต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและบุคลากรของทางสาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสร้างสรรค์ ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ดำเนินการเขียนโครงการการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ ในปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนานักศึกษาและบุคลากรอย่างต่อเนื่องและให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของสาขาสถาปัตยกรรม
คำสำคัญ การเสริมสร้างประสบการณ์จริง, การเขียนบทความทางวิชาการ

Read more