ข้อมูลอาจารย์
Instructor
ข้อมูลบุคลากร

ผศ.บุญเกิด ศรีสุขา
Asst.Prof. Boongerd Srisukhaประวัติการศึกษา
ศิลปบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) : มหาวิทยาลัยมหาสารคามศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาประติมากรรม : มหาวิทยาลัยศิลปากร
Tel.
089-863-3518รางวัลและเกียรติประวัติ
พ.ศ.2546
- รางวัลสนับสนุนการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 19
พ.ศ.2547
- รางวัลชมเชยการประกวดประติมากรรมติดตั้ง ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
พ.ศ.2551
- รางวัลชมเชยการประกวดประติมากรรมขนาดเล็ก เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี นิตยสาร ดิฉัน
พ.ศ.2553
- รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 1 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 56
- รางวัลพิเศษ การประกวดศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตครั้งที่ 22” ของกลุ่มบริษัทโตชิบา ประเทศไทย
พ.ศ.2554
- รางวัลพิเศษ การประกวดศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตครั้งที่ 23” ของกลุ่มบริษัทโตชิบา ประเทศไทย
พ.ศ.2556
- รางวัลดีเด่น ประเภทประติมากรรมต้นแบบ การประกวดศิลปกรรม อมตะ อาร์ท อวอร์ด ครั้งที่ 5/2556
พ.ศ.2558
- รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดงการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 (ผลงานสร้างสรรค์จากโครงการวิจัย เรื่อง “วิวัฒนาการแห่งรูปทรง”)
พ.ศ.2561
- ประกาศเกียรติคุณ “อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยดีเด่นด้านงานสร้างสรรค์” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ประวัติการแสดงผลงาน
พ.ศ.2543
- การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 17
พ.ศ.2545
- การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 19
พ.ศ.2546
- การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 20
พ.ศ.2547
- การแสดงประติมากรรมขนาดเล็ก โดยสมาคมประติมากรรม
- การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย ไทย-เวียดนาม โดยคณาจารย์ 6 มหาวิทยาลัย
- การแสดงงานประกวดประติมากรรมติดตั้ง ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
พ.ศ.2551
- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54
พ.ศ.2554
- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 57
พ.ศ.2555
- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58
- การแสดงศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 27
- การแสดงศิลปกรรมธนาคารกสิกรไทย
พ.ศ.2556
- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59
พ.ศ.2557
- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60
- การแสดงผลงานร่วมกับศิลปินเกาหลีใต้ 2014 Ulsan Bukgu Art Residency ณ เมืองอุลซัล สาธารณรัฐเกาหลีใต้
พ.ศ.2558
- การประกวดศิลปกรรม อมตะ อาร์ท อวอร์ด ครั้งที่ 6/2557
- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61
- การแสดงนิทรรศการศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 2
พ.ศ.2559
- การแสดงนิทรรศการโครงการวิจัยสร้างสรรค์“การสร้างสรรค์วิชาการงานศิลป์”ภายในงาน ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 9 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์
- 1st Techno Korat Group Art Exhibition ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62
พ.ศ.2560
- 1st Korea Thailand International Art Exchange Exhibition ณ Livin Gallery เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลีใต้
- การแสดงผลงานร่วมกับศิลปินนานาชาติ Sea Art Festival 2017,ArsLudens: Sea+Art+Fun จัดโดย Busan Biennale Organizing Committee ณ Dadaepo Beach เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลีใต้
พ.ศ.2562
- คณะกรรมการผู้จัดงานประกวดหุ่นฟางโคราช โดยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดนครราชสีมา งานเทศกาลหุ่นฟางโคราช ณ ศูนย์หนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
พ.ศ.2563
- การแสดงผลงานนิทรรศการ 15th RMUTT International Art
Workshop 2020 “TIME CHANGE”
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- การแสดงผลงานนิทรรศการสร้างสรรค์ผลงานศิลป์ร่วมสมัย“ศิลป์อีสาน”
ณ หอศิลป์ตะโกราย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
พ.ศ.2564
- การแสดงผลงานไทยแลนด์เบียนนาเล่ 2021 “โคราชเมืองศิลปะ
อัตลักษณ์ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา ด่านเกวียนร่วมสมัย”
ณ หอศิลป์ตะโกราย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
พ.ศ.2565
- การแสดงผลงาน International Harmony Friendship 2022
ณ Joryong Folk Craft Village สาธารณรัฐเกาหลีใต้
- การแสดงผลงาน 2022 Busan International Ceramic Festival
ณ Design Store, Busan สาธารณรัฐเกาหลีใต้
พ.ศ.2566
- การแสดงผลงาน “ASEAN contemporary art exhibition in RMUTI
Korat 1st” ณ หอศิลป์ตะโกราย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 68
- International Exhibition “Living with Heritage”
ณ The University of Arts, Hue University, Vietnam
ผลงานวิจัย
พ.ศ.2558
- การวิจัย เรื่อง “วิวัฒนาการแห่งรูปทรง” “ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)”
พ.ศ.2562
- การวิจัย เรื่อง “รูปทรงความสามัคคีจากวิถีธรรมชาติ” “ได้รับทุนอุดหนุนจาก
สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
พ.ศ.2566
การวิจัย เรื่อง “ธรรมชาติแรงบันดาลใจสู่รูปทรงแห่งความสุข”
ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
แนวความคิดในการทำงาน
แนวความคิดในการสร้างสรรค์ประติมากรรม “รูปทรงความสามัคคีจากวิถีธรรมชาติ” คือ การสื่อให้เห็นถึงคุณค่าของป่าหนองระเวียง ซึ่งเป็นป่าผืนสุดท้ายที่อยู่รายรอบไปด้วยเมือง โดยมีความต้องการให้ผู้คนในชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญของป่าและอยู่ร่วมกันกับป่าอย่างเกื้อกูลต่อกัน จึงได้นำเสนอคุณค่าของความสามัคคีที่มีอยู่ในปรัชญาธรรมชาติเป็นแนวความคิดหลักในการเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศภายใต้ป่าหนองระเวียง ซึ่งอาศัยความงามและคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของรูปทรงเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยง ด้านรูปแบบ เป็นผลงานประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม รูปแบบกึ่งนามธรรม โดยใช้กิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นการประทับรอยมือบนแผ่นดินเหนียว และมาประกอบสร้างเป็นส่วนหนึ่งในผลงานประติมากรรมนี้ ด้านเนื้อหา ได้ให้ความสำคัญกับความสามัคคีซึ่งเป็นหัวใจหลักในการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ เป็นการร่วมมือร่วมพลัง ของสิ่งต่างๆจากหน่วยย่อยให้เพิ่มจำนวนและเพิ่มพลังในการต่อสู้ปกป้อง รวมทั้งต้านทานภัยร้ายต่างๆจากธรรมชาติ และยึดถือแบบแผนที่ถูกต้องตามหลักสัจธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงในสังคม ด้านเทคนิควิธีการ ใช้วิธีการเชื่อมประกอบโลหะของโครงสร้างหลัก การประทับรอยมือลงบนแผ่นดินเหนียวและนำไปเผาแบบเตาฟืนเพื่อให้ได้สีแดงอิฐที่แสดงถึงเอกลักษณ์ตามธรรมชาติ และนำเทคนิคการปั้นปูนสดเพื่อให้เกิดพื้นผิวที่น่าสนใจมาประกอบกับเครื่องปั้นดินเผา จึงทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิดความหลากหลายของมิติทางด้านวัสดุและสีสันที่ได้จากสีสังเคราะห์และสีธรรมชาติผสมผสานกันได้อย่างลงตัว