เกี่ยวกับสาขา

About Department of Visual Arts

สาขาวิชาทัศนศิลป์

Department of Visual Art.


จัดการเรียนการสอนใน 3 วิชาเอก ดังนี้



วิชาเอก จิตรกรรม [Painting]
       ศึกษาและฝึกฝนทักษะวาดภาพระบายสีด้วยสื่อชนิดต่างๆ เช่น สีน้ำ สีน้ำมัน สีอะคลีลิคอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ แสดงออกทางความงาม ความคิดและจินตนาการ ในลักษณะเฉพาะตัว

วิชาเอก ประติมากรรม [Sculpture]
       ศึกษาและฝึกฝนทักษะการสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการทางประติมากรรม เช่น การปั้น การหล่อ การประกอบวัสดุและเทคนิคต่างๆ ที่นักศึกษาสามารถคิดขึ้นใหม่ เพื่อสร้างสรรค์งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นสามมิติ เน้นการถ่ายทอดจินตนาการ การแก้ปัญหาและกระบวนการสร้างสรรค์งานอย่างเป็นระบบในลัษณะเฉพาะตัว

วิชาเอก ศิลปะภาพพิมพ์ [Printmaking]
       ศึกษาและฝึกฝนทักษะการถ่ายทอดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการทางภาพพิมพ์ เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ (Wood cut) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (Silk Screen) ภาพพิมพ์โลหะ (Etching) เพื่อการเรียนรู้ การแก้ปัญหาและการแสดงออกทางความงาม ความคิดและจินตนาการในลักษณะตน


อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • มีความรู้ความสามารถสร้างงานทัศนศิลป์ให้ตนเองได้ เช่น จิตรกร ประติมากร ช่างถ่ายภาพ ศิลปินภาพพิมพ์
  • มีความรู้ความสามารถทำงานในหน่วยงานภาครัฐได้ เช่น ครูและอาจารย์สอนศิลปะ งานฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด (อบจ.) งานส่งเสริมประเพณีศิลปะและวัฒนธรรมกองการศึกษา สำนักงานเทศบาลตำบล สำนักงานการศึกษาเทศบาลจังหวัด เทศบาลนคร จิตรกรปฏิบัติการ หรือประติมากรปฏิบัติการ หรือ นายช่างศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร
  • มีความรู้ความสามารถทำงานในหน่วยงานภาคเอกชนได้ เช่น นักออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ช่างศิลป์ออกแบบพรหม ช่างปั้น ช่างหล่อ กำกับศิลป์
  • มีความรู้ความสามารถเป็นนักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
  • มีความสามารถประกอบกิจการเป็นของตนเอง เช่น ช่างเขียนภาพแกลเลอรี่ ช่างเขียนภาพผนัง ช่างเขียนภาพตกแต่งสถานที่ ช่างปั้นพระพุทธรูป ช่างปั้นภาพเหมือน-อนุเสาวรีย์ ทำบล๊อคสกรีนส์ สกรีนส์เสื้อผ้า สติ๊กเกอร์หรือวัสดุอื่นๆ ตามประสงค์ของลูกค้า

  • ปรัชญา ความสำคัญ

           ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและประสบการณ์ทางทัศนศิลป์ การวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาทางด้านทัศนศิลป์ กระบวนการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตในขั้นตอนต่างๆ นำมาประยุกต์ใช้ในวิชาชีพทางด้านทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแก้ปัญหาด้วยหลักการและเหตุผล เพื่อนำไปสู่องค์ความรู้ที่นำไปใช้งานได้ บนพื้นฐานศิลปะและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี


    วัตถุประสงค์

    1. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกสาธารณะในสาขาวิชาชีพทางทัศนศิลป์ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
    2. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะในหลักของฐานศาสตร์ทางศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ สามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อประกอบอาชีพได้
    3. ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินคุณค่าทางสุนทรียะได้อย่างมีวิจารณญาณ
    4. ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการทำงานร่วมกันผู้อื่น และมีทักษะในการจัดการทางศิลปกรรม
    5. ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถสื่อสารและนำเสนอแนวความคิดที่เป็นรูปธรรม ผ่านผลงานทางศิลปกรรม
    6. ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีได้ดี
    7. ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถแสดงออกและพัฒนาทักษะทางทัศนศิลป์ได้ตามความถนัดและความสามารถเฉพาะตน